ที่รโหฐาน

Download Report

Transcript ที่รโหฐาน

สิทธิมนุษยชน
ในกระบวนการยุติธรรม
ธนรัตน์ ทั่งทอง
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ประจาสานักประธานศาลฎีกา
การค้น
เหตุออกหมายค้น
(มาตรา 69)
(1) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยาน
หลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวน
มูลฟ้องหรือพิจารณา
(2) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด
หรือ ได้มาโดยผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควร
สงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทา
ความผิด
(3) เพื่อพบและช่วยบุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยว
หรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(4) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ
(5) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคาพิพากษาหรือ
ตามคาสั่งศาล ในกรณีที่จะพบหรือจะยึดโดย
วิธีอื่นไม่ได้แล้ว
การค้น
1 การค้นตัวบุคคล
การค้น
2 การตรวจค้นสถานที่ (การค้นในที่รโหฐาน
มาตรา 92)
การค้นตัวบุคคล
(1) การค้นตัวบุคคลในที่สาธารณสถาน
(มาตรา 93)
(2) การค้นตัวบุคคลซึ่งอยู่ในที่รโหฐาน
(มาตรา 100 วรรคสอง)
(3) การค้นตัวผู้ต้องหา
(มาตรา 85 วรรคสอง)
การค้นบุคคลในที่สาธารณสถาน
(มาตรา 93)
ฝ่ายปกครองหรือตารวจเป็นผู้ค้นและ
ห้ามมิให้ทาการค้นบุคคลใด
ในที่สาธารณสถาน เว้นแต่
เมื่อมีเหตุสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของ
ในความครอบครอง
เหตุยกเว้นไม่ต้องมีหมายค้นในที่รโหฐาน (มาตรา 92) ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐาน
โดยไม่มีหมายค้นหรือคาสั่งของศาลเว้นแต่
ฝ่ายปกครองหรือ
ตารวจเป็นผู้ค้น
(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วย/มีเสียงหรือพฤติการณ์
แสดงว่ามีเหตุร้ายในที่รโหฐาน
(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้าในที่รโหฐาน
(3) บุคคลที่กระทาผิดซึ่งหน้าขณะที่ถูกไล่จับ
หนีเข้าไปในนั้น
(4) มีหลักฐานว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด ฯลฯ
ได้ซ่อนอยู่ในนั้น
(5) เมื่อที่รโหฐานนั้น ผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน
และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตาม
มาตรา 78
หลักฐานตามสมควรในการออกหมายค้น
- ข้อบังคับฯ ข้อ 18 การรับฟังพยานหลักฐาน ไม่จาเป็นต้องถือเคร่งครัด
เช่นเดียวกับใช้พิสูจน์ความผิดของจาเลย
- ต้องเสนอหลักฐานให้เพียงพอที่ทาให้น่าเชื่อว่าจะพบบุคคลหรือสิ่งของใน
สถานที่นั้น ไม่ใช่เพียงแต่สงสัยก็จะมาขอให้ออกหมายค้น
องค์คณะในการพิจารณาและทาคาสั่ง
- เป็นอานาจของผู้พิพากษาคนเดียว
- แต่หากขอให้ศาลอาญาออกหมายค้นนอกเขตศาล/ค้นเพื่อจับ ผู้ดุร้ายหรือ
ผู้ร้ายสาคัญในเวลากลางคืน ต้องมีผู้พิพากษา 2 คน เป็นองค์คณะ โดยเป็นผู้พิพากษา
ประจาศาลได้ไม่เกิน 1 คน (ข้อบังคับ ฯ ข้อ 27 ,37)
การค้น
หลักตามรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น 2 กรณี
1. การค้นตัวบุคคล
2. การตรวจค้นสถานที่
การค้นตัวบุคคล
รัฐธรรมนูญ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพใน
ชีวิตและร่างกาย” และวรรคสี่ “การค้นตัวบุคคลหรือการกระทาใดอันกระทบ
ต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทามิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมาย
บัญญัติ”
ตาม ป.วิ.อ. มี 3 กรณี
1. การค้นตัวบุคคลในที่สาธารณสถาน ตามมาตรา 93
- ห้ามมิให้ทาการค้นตัวบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้น
มีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทาความผิด หรือซึ่งได้มาโดย
การกระทาความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด
ข้อสังเกต จากบทบัญญัติ มาตรา 93 แสดงว่าการค้นบุคคลในที่
สาธารณสถาน ไม่ต้องมีหมายค้น และต้องมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมี
สิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทาความผิด ฯลฯ หรือเมื่อตรวจ
ค้นแล้วพบว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า
ก็จับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ เช่น พบแผ่นซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
ฎ.6894/2549 แม้แผ่นซีดีนั้นจะอยู่ในตู้ภายในร้าน ซึ่งเป็น
สาธารณสถานที่ไม่ได้อยู่ที่ตัวของผู้ที่ถูกค้นก็ถือว่าอยู่ในความครอบครองของ
จาเลย การค้นจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 93
- ก่อนเกิดเหตุ ส.ต.อ. พ. พบเห็นจาเลยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า
จาเลยจะกระทาความผิด และพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้ ส.ต.อ. พ. จะไม่มีหมายจับ แต่ได้แสดงตัวว่าเป็นเจ้า
พนักงานให้จาเลยทราบแล้ว ส.ต.อ. พ. จึงมีอานาจตรวจค้นและจับจาเลยได้ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 78(1) (2) ,93 การที่จาเลยใช้มือกดอาวุธปืนไม่ให้ ส.ต.อ. พ. ดึง
ออกมาจากเอวจาเลยเพื่อยึดเป็นของกลาง จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานใน
การปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กาลังประทุษร้าย ตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรค
สอง (ฎ.9212/2539)
- ตารวจค้นจาเลยกับพวกขณะยืนซุบซิบกันหลังสถานีรถไฟ โดยตารวจ
ติดตามคนร้ายคดีปล้นทรัพย์หนีข้ามท้องที่มา และได้ร่วมกับตารวจในท้องที่ทา
การติดตาม และมีเหตุสงสัยอันควรที่จะทาการค้น คือ สงสัยว่าจะมีอาวุธปืนและ
ของผิดกฎหมาย เช่นนี้ ค้นตัวจาเลยได้โดยไม่จาต้องมีหมายค้น (ฎ.1082/2507)
- วัยรุ่นเดินอยู่ในทางสาธารณะ คนหนึ่งเป็นผู้ต้องหาที่มีผู้แจ้งว่าจะไป
ทาความผิด เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าจะทาความผิด และมีอาวุธที่จะนาไปใช้ทา
ผิด ตารวจค้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 จาเลยขัดขวางโดยยิงตารวจเป็น
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 140,289,80 ลงโทษตาม มาตรา 289,80 ซึ่งเป็นบท
หนัก (ฎ.1152/2521)
- ห้ อ งโถงในสถานการค้ า ประเวณี ผิ ด กฎหมาย เวลาแขกมาเที่ ย ว
เป็น สาธารณสถานซึ่ งประชาชนมี ความชอบธรรมที่ จะเข้ าไปได้ พลต ารวจมี
อานาจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 จาเลยขัดขวางเป็น
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 140 พลตารวจจับได้ (ฎ.883/2520 ประชุมใหญ่)
ข้อสังเกต ตามฎีกาข้างต้นนี้ ถือว่าเป็นสาธารณสถานเฉพาะเวลาที่เปิด
ให้แขกเข้าไปใช้บริการ ในช่วงเวลานี้จึงไม่เป็นที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตารวจจึง
ค้นตัวจาเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น
โจทก์ ใ ช้ ห้ อ งพั ก ในบ้ า นเกิ ด เหตุ เ ป็ น ที่ ส าหรั บ ให้ ห ญิ ง ค้ า ประเวณี กั บ
บุคคลทั่วไป คืนเกิดเหตุ นางสาว น. ลูกจ้างของโจทก์ได้ทาการค้าประเวณีใน
ห้องพักนั้นด้วย ห้องพักดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสาธารณสถาน (ค้นได้โดยไม่ต้องมี
หมายค้น)
จาเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตารวจเข้าไปในห้องพักดังกล่าว
พบนางสาว น. อยู่กับ นาย ส. เพียงสองต่อสอง นาย ส. บอกว่าได้ร่วมประเวณี
กั บ นางสาว น. แล้ ว เป็ น พฤติ ก ารณ์ ที่ ถื อ ได้ ว่ า จ าเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ พ บ
นางสาว น. ในลักษณะซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยว่านางสาว น. เพิ่งได้กระทาผิด
ฐานค้าประเวณีมาแล้วสด ๆ อันถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา
80 จาเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมี อานาจเข้าไปจับกุม นางสาว น. ได้โดยไม่ต้องมี
หมายค้น และหมายจับ (ฎ.69/2535)
ขณะที่เจ้าพนักงานตารวจเข้าตรวจค้นตัวจาเลยนั้น จาเลยกาลังขาย
ก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวของจาเลย ซึ่งมีลูกค้ากาลังนั่งรับประทานก๋วยเตี๋ยวที่
ร้านของจาเลยดังนี้ ร้านก๋วยเตี๋ยวของจาเลยจึงหาใช่เป็นที่รโหฐานไม่ แต่เป็นที่
สาธารณสถาน เมื่อเจ้าพนักงานตารวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าจาเลยมีเมทแอมเฟ
ตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย เจ้าพนักงานตารวจย่อมมี
อานาจค้นจาเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 และเมื่อตรวจ
ค้นพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในกระเป๋าคาดเอว ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ
จาเลย การกระทาของจาเลย เป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตารวจย่อมมี
อานาจจับจาเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (1) การตรวจค้น
และจับกุมจึงชอบด้วยกฎหมาย (ฎ.3751/2551)
- จำเลยนัง่ โทรศัพท์อยูบ่ นถนนไม่ได้อยูห่ ลังซอยที่อำ้ งว่ำมีอำชญำกรรม
เกิดขึ้นประจำ ไม่ปรำกฏว่ำจำเลยมีท่ำทำงพิรุธ กำรที่ตำรวจอ้ำงว่ำเกิด
ควำมสงสัยในตัวจำเลย จึงขอตรวจค้นโดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่ำ
เพรำะเหตุใดจึงสงสัย เป็ นข้อสงสัยที่อยูบ่ นพื้นฐำนของควำมรู ้สึกเพียง
อย่ำงเดียวถือไม่ได้วำ่ มีเหตุอนั ควรสงสัยตำม ป.วิ.อ. มำตรำ 93 กำร
ตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลยมีสิทธิโต้แย้งและป้องกันสิ ทธิของ
ตนได้ (ฎ.8722/2555)
ตัวอย่างคาพิพากษาฎีกาอื่น ๆ ที่ถือว่าเป็นสาธารณสถาน
- ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้า เป็นสถานที่ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้า
ไปได้เป็นสาธารณสถาน (ฎ.1362/2508)
- ที่เกิดเหตุเป็นร้านกาแฟ จึงเป็นสาธารณสถาน (ฎ.1732/2516)
- ถนนซอยในที่ดินเอกชนซึ่งแบ่งให้คนอื่นปลูกบ้าน ประชาชนชอบที่จะ
เข้าออกติดต่อไปมาหากันได้ เป็นสาธารณสถาน (ฎ.1908/2518)
2. การค้นตัวบุคคลซึ่งอยู่ในที่รโหฐาน
การค้นตัวบุคคลตามข้อนี้ สืบเนื่องมาจาก การค้นในที่รโหฐาน และมีคน
ในที่ นั้ น ขั ด ขวางการค้ น โดยมี เ หตุ อั น ควรสงสั ย ว่ า บุ ค คลนั้ น ได้ เ อาสิ่ ง ของที่
ต้องการซุกซ่อนในร่างกาย เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอานาจค้นตัวผู้นั้นได้ ถ้าพบสิ่งของ
นั้นก็ยึดไว้เป็นพยานหลักฐานได้ มาตรา 100 วรรคสอง
3. การค้นตัวผู้ต้องหา
เป็นกรณีที่มีการจับตัวผู้ต้องหามาแล้ว เจ้าพนักงานผู้จับหรือผู้รับตัวผู้จับ
มีอานาจค้นตัวผู้ต้องหา และยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ มาตรา 85
วรรคหนึ่ง
ข้อสังเกต
การค้นตัวบุคคลนั้น ต้องกระทาโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้
ค้น มาตรา 85 วรรคสอง
การตรวจค้นสถานที่ (เน้นการค้นในที่รโหฐาน)
หลักตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 33 วรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน”
วรรคสอง “บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่
อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข”
วรรคสาม “การเข้ า ไปในเคหสถานโดยปราศจากความ
ยิ น ยอมของผู้ ค รอบครอง หรื อ การตรวจค้ น เคหสถาน หรื อ ในที่ ร โหฐาน
จะกระท ามิ ไ ด้ เว้ น แต่ มี ค าสั่ ง หรื อ หมายของศาลหรื อ มี เ หตุ อ ย่ า งอื่ น ตามที่
กฎหมายบัญญัต”ิ
หลักตาม ป.วิ.อ. มาตรา 57 วรรคหนึ่ง
ค้ น ในที่ ร โหฐานหาตั ว คนหรื อ สิ่ ง ของต้ อ งมี ค าสั่ ง หรื อ หมายค้ น ของศาล
1. เหตุที่จะออกหมายค้น มาตรา 69
(1) เพื่อพบหรือยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน
ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา
(2) เพื่อพบหรือยึดสิ่งของ ซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยผิดกฎหมาย
หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทาความผิด
(3) เพื่ อ พบและช่ ว ยบุ ค คล ซึ่ ง ได้ ถู ก หน่ ว งเหนี่ ย วหรื อ กั ก ขั ง
โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(4) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ
(5) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคาพิพากษา หรือตามคาสั่งของศาล ใน
กรณีที่พบและยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว
แนวฎีกาเกี่ยวกับหมายค้น
- หมายค้นที่ระบุว่าเป็นการค้นบ้านจาเลย เนื่องจากมียาเสพติดให้โทษ
ซุกซ่อนอยู่แม้จะระบุเลขที่บ้านไม่ถูกต้อง ก็เป็นหมายค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย
จาเลยทั้งสี่นาสืบยอมรับว่าถูกจับกุมในห้องเช่าที่เกิดเหตุ และตารวจได้
เมทแอมเฟตามีนเป็นของกลางจริง แม้จะปรากฏว่าห้องเช่าดังกล่าวเลขที่จริง ๆ คือ
82/16 ไม่ใช่เลขที่ 105 ตามที่ระบุในหมายค้นแต่ตามหมายค้นดังกล่าวได้ระบุเหตุที่
ขอออกหมายค้นว่าการสืบสวนทราบว่าที่บ้านจาเลยที่ 1 เลขที่ 105 ห้องเช่ามียา
เสพติดให้โทษซุกซ่อนอยู่ในบ้านหรือบริเวณบ้าน จึงขอให้ศาลออกหมายค้นโดยระบุ
ชื่อและนามสกุลจาเลยที่ 1 ถูกต้อง ร.ต.ท. บ. ผู้จับซึ่งขอออกหมายค้นเบิกความ
ระบุว่าที่ระบุเลขที่ในหมายค้นผิดไปดังกล่าว เพราะสายลับระบุเช่นนั้น การระบุ
เลขบ้านผิดไม่ทาให้การตรวจค้นจาเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวเป็นการ
ไม่ ช อบ การตรวจค้ น โดยมี ห มายค้ น กรณี นี้ จึ ง ชอบด้ ว ยกฎหมายแล้ ว
(ฎ.3479/2548) ฎ.1328/2544 และ ฎ.6942/2551
- กรณีมีพฤติการณ์น่าสงสัย เป็นเหตุให้ออกหมายค้น
มีผู้ร้องเรียนว่าจาเลยมีพฤติการณ์น่าสงสัย โดยตอนกลางวันจะปิด
บ้านและเก็บตัวอยู่ภายในบ้าน ตอนกลางคืนจึงออกจากบ้าน ไม่ยุ่งกับเพื่อนบ้าน
และไม่ ป รากฏว่ า ประกอบอาชี พ อะไร สงสั ย ว่ า ภายในบ้ า นจะมี สิ่ ง ของผิ ด
กฎหมายซุกซ่อนอยู่ ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสิ่งของผิดกฎหมายซุก
ซ่อนอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นเหตุให้ออกหมายค้นได้ (ฎ.5479/2536)
- ขณะตรวจค้นตามหมายค้น พบผู้กระทาผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานมี
อานาจจับได้ โดยไม่ต้องออกหมายจับอีก
การค้นในคดีนี้เป็นการค้นเพื่อพบและยึด ยาเสพติดซึ่งเป็นสิ่งของที่มีไว้
เป็นความผิดตามที่ได้รับแจ้งจากสายลับ การออกหมายค้นจึงกระทาได้ตาม ป.
วิ.อ. มาตรา 69 (2) และไม่จาต้องออกหมายจับบุคคลตาม มาตรา 70 เมื่อตรวจค้น
แล้วพบว่าจาเลยมีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองซึ่งเป็นความผิด
ซึ่ ง หน้ า เจ้ า พนั ก งานต ารวจมี อ านาจจั บ จ าเลยได้ ต าม มาตรา 78 (1)
(ฎ.360/2542)
2. การค้นในที่รโหฐาน มาตรา 92
หลักกฎหมาย ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคาสั่ง
ศาล เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียง หรือ
มีพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐาน นั้น
(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากาลังกระทาลงในที่รโหฐาน
(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทาผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมี
เหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐาน นั้น
(4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่า สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด
หรือได้มาโดยการกระทาความผิด หรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทาความผิด
หรืออาจเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทาความผิด ได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น
ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้
สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้าย หรือทาลายเสียก่อน
(5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมี
หมายจับหรือจับตามมาตรา 78
แนวฎีกาเกี่ยวกับมาตรานี้
- เมื่อเจ้าพนักงานไปทาการค้นตามหมายค้นที่ศาลออกให้ตามคาขอ
ของเจ้าพนักงานแล้ว ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย ถือว่ากระบวนการต่าง ๆ ในการค้น
ได้เสร็จสิ้นยุติไปแล้ว เจ้าของบ้านที่ถูกค้นจะขอให้ศาลไต่สวนเพื่อทราบสาเหตุ
และหลักฐานอันเป็นที่มาในการขอออกหมายค้นไม่ได้ หากเห็นว่าเป็นการตรวจ
ค้นโดยไม่มีพยานหลักฐานก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก (ฎ.270/2543)
ปัญหาที่น่าคิดว่า รถยนต์ไม่ใช่ที่ที่ใคร ๆ จะเข้าไปได้ จะเป็นที่รโหฐานที่
ต้ อ งห้ า มมิ ใ ห้ ค้ น โดยไม่ มี ห มายค้ น ใช่ ห รื อ ไม่ มี ค ดี เ กิ ด ขึ้ น แต่ ไ ม่ ถึ ง ศาลฎี ก า
ประเด็นมีว่าเจ้าพนักงานตารวจตั้งด่านตรวจค้นรถยนต์ มีข้อโต้เถียงกันมาว่าเป็น
การค้นที่มิชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีหมายค้น เนื่องจากรถยนต์เป็นที่รโหฐาน
จะค้นโดยไม่มีหมายค้นไม่ได้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานตารวจสามารถ
ค้นรถยนต์ได้ โดยให้เหตุผลว่า เมื่อกฎหมายใช้คาว่า ที่รโหฐาน การตีความ
กฎหมายตามลายลักษณ์อักษรต้องแปลว่า รโหฐาน คือ สถานที่หรือที่ตั้ง ซึ่ง
เคลื่อนย้ายไม่ได้ แต่รถยนต์เคลื่อนที่ได้ จึงไม่ใช่ที่รโหฐาน
ถ้าเป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกา มีคาพิพากษาในคดีระหว่าง Carrel V
U.S.267 u.s. 132, 1925 วางหลักไว้ว่าโดยหลักการทั่ว ๆ ไป การค้น
รถยนต์ไม่ใช่หลักเรื่องที่อยู่อาศัย อันมีหลักอยู่ว่าการค้นที่อยู่อาศัยโดยไม่มีหมาย
ค้นทาไม่ได้ หลักนี้ ถ้อยคาภาษาอังกฤษใช้คาว่า “A man is a king
in his castle” แปลว่า บุคคลเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในบ้านของเขา กฎหมายอเมริกัน
เคารพสิทธิในเคหสถานที่อยู่อาศัย แต่รถยนต์ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย รถยนต์เคลื่อนที่ไป
มาได้ โ ดยง่ า ย สามารถน าพาพยานหลั ก ฐานหนี ไ ปได้ ง่ า ย จึ ง ต้ อ งค้ น ได้ เ พื่ อ
รวบรวมพยานหลักฐานไว้ก่อน ต่างกับที่อยู่อาศัย ซึ่งอยู่กับที่ไปไหนไม่ได้ กรณีที่
อยู่อาศัยถ้าไม่มีเหตุยกเว้นหรือจาเป็นเร่งด่วน ก็ต้องไปขอหมายค้นจากศาล
ข้อยกเว้น การค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีคาสั่งหรือหมายค้นของศาล
ตามมาตรา 92
(1) เมื่ อ มี เ สี ย งร้ อ งให้ ช่ ว ยมาจากข้ า งในที่ ร โหฐานหรื อ มี เ สี ย งหรื อ
พฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐาน นั้น
(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากาลังกระทาลงในที่รโหฐาน
ตัวอย่าง
- จ่าสิบตารวจ ส. และร้อยตารวจเอก ป. จับจาเลยได้ขณะที่จาเลยกาลัง
ขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่จ่าสิบตารวจ ส. ผู้ล่อซื้อ ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า จ่าสิบ
ตารวจ ส.และร้อยตารวจเอก ป. จึงมีอานาจเข้าไปในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นที่
รโหฐานในเวลากลางคื น โดยไม่ ต้ อ งมี ห มายค้ น และมี อ านาจจั บ จ าเลยซึ่ ง เป็ น
ผู้กระทาความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 , 81 ประกอบ
มาตรา 92 (2) และ 96 (2) (ฎ.4461/2540)
- เจ้าพนักงานตารวจซุ่มดูอยู่ ห่างจากห้องที่เกิดเหตุประมาณ 8 เมตร
เห็นจาเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ให้แก่สายลับ จึงเข้าจับกุมจาเลย เมื่อ
ตรวจค้นในห้องที่เกิดเหตุก็พบเมทแอมเฟตามีน อีก 8 เม็ด การตรวจค้นจับกุมได้
กระท าต่ อ เนื่ อ งกั น เมื่ อ พบจ าเลยกระท าความผิ ด ฐานจ าหน่ า ยและมี ไ ว้ ใ น
ครอบครองเพื่อจาหน่าย ซึ่งเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1
อันเป็นความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 เจ้าพนักงานจึงมีอานาจค้น และจับ
จ าเลยได้ โ ดยไม่ ต้ อ งมี ห มายค้ น และหมายจั บ ตามมาตรา 78 (1) , 92 (2)
(ฎ.2848/2547)
- ก่อนทาการค้น เจ้าพนักงานตารวจเห็นจาเลยโยนสิ่งของออกไปนอก
หน้าต่าง เมื่อตรวจสอบดูพบว่าเป็นเมทแอมเฟตามีน จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานพบ
จาเลยกระทาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง อันเป็นความผิดซึ่ง
หน้า และได้กระทาลงในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตารวจย่อมมีอานาจจับจาเลยได้โดย
ไม่ ต้ อ งมี ห มายจั บ หรื อ หมายค้ น ตาม ป .วิ . อ. มาตรา 78 (1), 92 (2),
(ฎ.1164/2546)
(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทาผิดความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไป
หรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐาน นั้น
ตัวอย่าง นายแดงเป็นราษฎรธรรมดาวิ่งไล่ตามจับนายดามาติด ๆ พร้อมกับ
ร้องว่าช่วยด้วย ขโมย สิบตารวจตรีขาวพบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว จึงวิ่งไล่ตามจับ
นายดาไปทันที หากนายดาหลบหนีเข้าไปในบ้านของนายเหลือง สิบตารวจตรี
ขาวเข้าไปในบ้านนั้นโดยทันทีได้ ถือเป็นการค้นบ้านนั้น โดยชอบตาม ป.วิ.อาญา
มาตรา 92(3) เพราะนายดาได้กระทาความผิดซึ่งหน้าในประเภทที่ถือว่าความผิด
นั้นเป็นความผิดซึ่งหน้ามีคนร้องบอกให้ไล่จับดั่งผู้กระทาความผิดโดยมีเสียงร้อง
เอะอะ เพราะนายดาได้กระทาความผิดซึ่งหน้า ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่ง
หน้าตาม ป.วิ อาญา มาตรา 80 วรรคสอง (1) ขณะถูกไล่จับได้หนีเข้าไปในบ้าน
ของนายเหลือง หรือถึงแม้ว่าสิบตารวจตรีขาวจะไม่ได้เห็นนายดาเข้าไปในบ้านหลัง
นั้นด้วยตาตนเองก็ตาม แต่เชื่อมั่นว่าต้องไปหลบอยู่ในบ้านหลังนั้นแน่นอน เพราะ
เมื่อเลี้ยวมุมถนนนายดาก็หายตัวไป และมีบ้านหลังนั้นอยู่เพียงหลังเดียว ในกรณีนี้
สิบตารวจตรีขาวก็เข้าไปในบ้านหลังนั้นเพื่อจับนายดาได้เพราะมาตรา 92 (3)
รวมถึงกรณีมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนอยู่ในที่รโหฐานนั้น
ตัวอย่าง หากข้อเท็จจริงเดียวกันแต่ตัดสิบตารวจตรีขาวออกไป เป็นเรื่อง
ราษฎรด้วยกันเองแล้วไล่จับกัน ปัญหาคือนายแดงราษฎรเข้าไปจับนายดาในบ้าน
ของนายเหลืองได้หรือไม่ จะเห็นว่าการเข้าไปจับในที่รโหฐานเป็นการค้นอย่างหนึ่ง
การค้นในที่รโหฐานตามมาตรา 92 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจเท่านั้นเป็นผู้
ค้น นายแดงราษฎรจึงไม่มีอานาจเข้าไปจับนายดาในบ้านของนายเหลือง
(4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่า สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือ
ได้มาโดยการกระทาความผิด หรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทาความผิด
หรืออาจเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทาความผิด ได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น
ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้
สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทาลายเสียก่อน
ตัวอย่างกรณีที่ถือว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการ
กระทาผิดได้ซ่อนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ทั้งมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่น
ช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน (ฎ.1605/2544)
คาพิพากษาฎีกาที่ 1605/2544
สิบตารวจโท ช. สืบทราบว่าบ้านของจาเลยเป็นแหล่งลักลอบ
จาหน่ายยาเสพติดให้โทษก็ได้ใช้วิธีซุ่มดูพฤติการณ์ของจาเลย เมื่อเห็นจาเลย
ขุดบริเวณแปลงผักและนาสิ่งของใส่ในหลุมที่ขุดแล้วกลบไว้ จึงใช้วิทยุสื่อสาร
เรียกเจ้าพนักงานตารวจที่รออยู่ให้ไปที่เกิดเหตุและได้ออกมาแสดงตัวเป็นเจ้า
พนักงานตารวจเพื่อขอตรวจค้น เมื่อใช้จอบขุดบริเวณที่จาเลยกลบไว้ก็พบ
เมทแอมเฟตามีน กรณีดังกล่าวถือได้ว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่
ได้มาโดยการกระทาผิดได้ซ่อนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ประกอบทั้งมีเหตุอัน
ควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูก
โยกย้ายเสียก่อน แม้สิบตารวจโท ช. กับพวกเข้าค้นโดยไม่มีหมายค้นก็
สามารถกระทาได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา 92(4)
ข้อสอบคัดเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษา ปี2554 คาถามข้อ 1
นายกายเจ้าพนักงานป่าไม้ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สืบทราบมาว่าที่บ้านของนางเวทนา
ซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่ในความรับผิดชอบของตน มีไม้กระยาเลยไม่มีรอยตรา
ค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายอันเป็นไม้ผิดกฎหมายหลายสิบท่อนไว้ใน
ครอบครอง วันเกิดเหตุเวลากลางวันนายกายเดินผ่านบ้านของนางเวทนาซึ่งมี
รั้วลวดหนามล้อมรอบ จึงกดกริ่งเรียกเจ้าของบ้าน แต่ไม่มีผู้ใดมาเปิดประตูรั้ว
เนื่องจากประตูรั้วแง้มอยู่นายกายจึงเปิดประตูรั้วเข้าไป แล้วค้นบริเวณบ้าน
ของนางเวทนาโดยไม่มีหมายค้นหรือคาสั่งของศาล พบไม้ดังกล่าวซึ่งเป็นไม้
ขนาดใหญ่จานวน 35 ท่อน กองอยู่ที่หลังบ้านของนางเวทนา หลังจากนั้น
นางเวทนาเดินออกจากในบ้านมาที่หลังบ้าน นายกายจึงแสดงตนเป็นเจ้า
พนักงานป่าไม้ นางเวทนารับว่ามีไม้หวงห้ามยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าวไว้ใน
ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจริง
นายกายจึงจับนางเวทนาในข้อหาดังกล่าว โดยไม่มีหมายจับหรือคาสั่ง
ของศาล แต่ได้แจ้งสิทธิต่างๆตามกฎหมายและแจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบ
พร้อมกับยึดไม้ดังกล่าวไว้เป็นของกลาง แล้วเอาตัวนางเวทนาและไม้ของกลาง
ไปยังที่ทาการของร้อยตารวจเอกจิตซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนผู้รบั ผิดชอบทันที
และส่งตัวนางเวทนาและไม้ของกลางพร้อมบันทึกการตรวจค้น จับกุม และยึด
ของกลางแก่ร้อยตารวจเอกจิตซึง่ ได้ดาเนินการต่างๆตามกฎหมาย แล้วควบคุม
ตัวนางเวทนาไว้ วันรุ่งขึ้นนายธรรมซึ่งเป็นสามีของนางเวทนายื่นคาร้องต่อศาล
จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอานาจเหนือคดีนี้ ขอให้มีคาสั่งปล่อยนาง
เวทนาโดยอ้างว่านางเวทนาถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และมีคาสั่งให้
พนักงานสอบสวนคืนไม้ของกลางแก่ผู้ร้องด้วย ศาลจังหวัดกาญจนบุรีไต่สวน
คาร้องแล้วได้ความดังกล่าว
ให้วินิจฉัยว่า การค้นของนายกายเป็นการค้นที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
และศาลจังหวัดกาญจนบุรีจะมีคาสั่งตามคาร้องของนายธรรมอย่างไร
ธงคาตอบข้อ 1
การค้นของนายกายเป็นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือ
คาสั่งของศาล แม้การสืบทราบของนายกายอาจถือว่าเป็นกรณีมี
พยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทาความผิดซ่อนหรือ
อยู่ในที่รโหฐาน แต่สิ่งของนั้นเป็นไม้หวงห้ามขนาดใหญ่ยังไม่ได้แปรรูป
จานวนมากถึง 35 ท่อน เป็นกรณีไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้า
กว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทาลายเสียก่อน นาย
กายจึงไม่มีอานาจที่จะค้นโดยไม่มีหมายค้นหรือคาสั่งของศาลตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4) ทั้งก่อนลงมือค้นก็ไม่ปรากฏ
ว่านายกายแสดงความบริสุทธิ์ และค้นต่อหน้านางเวทนาผู้ครอบครอง
สถานที่ตามมาตรา 102 วรรคหนึ่ง การค้นของนายกายจึงเป็นการค้นที่ไม่
ชอบด้วยกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(1) พนักงานฝ่าย
ปกครองหรือตารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคาสั่งของศาลได้ก็ต่อเมื่อ
บุคคลนั้นได้กระทาความผิดซึ่งหน้าตามมาตรา 80 แต่การกระทาของนาง
เวทนาไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า เพราะไม่ใช่ความผิดซึ่งเห็นกาลังกระทา หรือ
พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าได้กระทาผิดมาแล้วสดๆ
ตามมาตรา 80 วรรคหนึ่ง และไม่เข้าข้อยกเว้นความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้าย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา
80 วรรคสอง (1)(2) จึงไม่ใช่กรณีที่จะจับได้โดยไม่มีหมายจับหรือคาสั่งของ
ศาล ดังนั้น นายกายจึงไม่มีอานาจที่จะจับนางเวทนาได้ (คาพิพากษาศาล
ฎีกาที่ 2535/2550) การควบคุมตัวนางเวทนาไว้จึงเป็นการคุมขังไว้โดยมิ
ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายธรรมซึ่งเป็นสามีของนางเวทนาผู้ถูกคุมขังยื่นคา
ร้องขอให้ศาลจังหวัดกาญจนบุรีมีคาสั่งปล่อยนางเวทนา ศาลจังหวัด
กาญจนบุรีต้องมีคาสั่งให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบปล่อยตัวนางเวทนา
ไปทันทีตามมาตรา 90 (เทียบคาพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2541)
ส่วนไม้ของกลางซึ่งผู้ร้องกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานยึดไปโดยมิชอบ
ด้วยกฎหมาย และขอให้ศาลมีคาสั่งให้พนักงานสอบสวนคืนแก่ผู้ร้องนั้น
มิใช่กรณีที่จะยื่นคาขอมาพร้อมกับคาร้องตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา มาตรา 90 นายธรรมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคาร้องขอ
คืนไม้ของกลางเป็นคดีนี้ ศาลจังหวัดกาญจนบุรีต้องมีคาสั่งยกคาร้องส่วน
นี้
(คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2550 ประชุมใหญ่)
ก่อนการค้นบ้านผู้ต้องหาครั้งนี้ เจ้าพนักงานตารวจจับกุม ท. พร้อมเมท
แอมเฟตามีน จานวน 95 เม็ ด ในเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐาน
ตามปกติจะต้องกระทาในเวลากลางวัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 ขณะนั้นเป็น
เวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่าย
โดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนี้สถานีตารวจภูธรอาเภอห้างฉัตรมิได้อยู่
ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมทาให้เนิ่นช้า กว่าจะ
ออกหมายค้นมาได้ เมทแอมเฟตามีนอาจถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว ดังนั้น จึงเข้า
ข้ อ ยกเว้ น ให้ ค้ น ได้ โ ดยไม่ ต้ อ งมี ห มายค้ น ตาม ป .วิ . อ. มาตรา 92 (4)
(ฎ.7387/2543)
(5) เมื่อที่รโหฐานนั้น ผู้ จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมี
หมายจับหรือจับตามมาตรา 78
คาว่า “เจ้าบ้าน” ตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 92 (5) หมายความถึง
ผู้ เ ป็ น หั ว หน้ า ของบุ ค คลที่ พั ก อาศั ย อยู่ ใ นบ้ า น และ คู่ ส มรสเท่ า นั้ น
(ฎ.1035/2536) เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้าน
และปกครองผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้น หาได้รวมถึงผู้อยู่ในบ้านทุกคนไม่
กรณีเจ้าของที่รโหฐาน ยินยอมในการค้น แม้จะไม่มีหมายค้นถือว่าการ
ค้นชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้เป็นไปตามรัฐ ธรรมนูญ มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่ ง
บัญญัติว่า “การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง
...จะกระทามิได้”
การค้ น บ้ า นที่ เ กิ ด เหตุ เจ้ า พนั ก งานต ารวจได้ แ สดงบั ต รประจ าตั ว
เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แก่ พ. เจ้าของบ้าน ซึ่งเป็นมารดา
ของจาเลย และได้รับความยินยอมแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตารวจได้ขู่
เข็ญหรือหลอกลวงให้ พ.ให้ความยินยอมในการค้น แม้การค้นดังกล่าวจะทาโดย
ไม่มีหมายค้น ก็หาเป็นการค้นที่มิชอบอย่างใดไม่ ประกอบกับก่อนทาการค้นเจ้า
พนักงานตารวจเห็นจาเลยโยนสิ่งของออกไปข้างนอกหน้าต่าง เมื่อตรวจสอบดู
พบว่าเป็นเมทแอมเฟตามีน จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตารวจพบจาเลยกระทา
ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดซึ่งหน้า และได้
กระท าลงในที่ ร โหฐาน เจ้ า พนั ก งานต ารวจมี อ านาจจั บ จ าเลยโดยไม่ ต้ อ งมี
หมายจับและหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (1) , 92 (2) (ฎ.1164/2546)
และ ฎ.1328/2544
วิธีการค้นในที่รโหฐาน
มาตรา 94 , 95 ให้เจ้าพนักงานที่ค้น สั่ง
ให้ เ จ้ า ของหรื อ ผู้ ที่ อ ยู่ ห รื อ รั ก ษาสถานที่ ซึ่ ง จะค้ น ให้ ย อมให้ เ ข้ า ท าการค้ น
เจ้าพนักงานผู้ค้นต้องแสดงหมายค้น ถ้าค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นให้แสดงนาม
และตาแหน่ง ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ยอมให้เข้าไป เจ้าพนักงานมีอานาจใช้กาลัง
ในกรณีจาเป็นจะเปิดหรือทาลายประตูบ้านหน้าต่าง รั้ว หรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่น
ทานองเดียวกันนั้นได้ (ฎ.6403/2545)
เวลาในการค้นที่รโหฐาน มาตรา 96
การค้ น ในที่ ร โหฐานต้ อ งกระท าระหว่ า งพระอาทิ ต ย์ ขึ้ น และตก
มีข้อยกเว้นดังนี้ ตามมาตรา 96 (1) – (3)
ข้อสังเกต กรณีตาม (3) ได้เปลี่ ยนผู้ มีอานาจให้ค้นจากตารวจและ
ฝ่ายปกครองเป็นศาล ในการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. เมื่อปี 2547
ตัวอย่างการค้นตาม มาตรา 96 (1)
- ตามสาเนาบันทึกประจาวันเกี่ยวกับคดี เจ้าพนักงานตารวจไปตรวจ
ค้นจับกุมที่บ้านของ ส.เวลา 18.02 นาฬิกา แสดงว่าลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลา
ดังกล่าว ซึ่งยังเป็นเวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จ จึงมีอานาจตรวจค้นจับกุมต่อไป
ในเวลากลางคืนได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 96 (1) (ฏ.6403/2545)
ตัวอย่างการค้น ซึ่งถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตาม มาตรา 96 (2)
- กานันเห็นเจ้าของบ้านกับพวกกาลังต้มกลั่นสุราเถื่อนอยู่ในบ้านใน
เวลากลางคืน ถ้าไม่จับในขณะกระทาผิดเช่นนั้น ก็จะไม่ประจักษ์แจ้งว่าผู้นั้น
กระทาความผิด และพยานหลักฐานของกลางก็จะจับไม่ได้หรือไม่ครบถ้วนเช่นนี้
นับว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 (2) กานันกับราษฎรจึงมี
อานาจเข้าไปจับกุมได้ ไม่ผิดฐานบุกรุก (ฎ.1087/2492)
- จ่าสิบตารวจ ส. และร้อยตารวจเอก ป. จับจาเลยขณะที่จาเลยกาลัง
ขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่จ่าสิบตารวจ ส.ผู้ล่อซื้อ ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า ขณะนั้น
ธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ที่จาเลย และจาเลยดิ้นรนต่อสู้ ถ้าปล่อยให้เนิ่นช้ากว่าจะนา
หมายจับและหมายค้นมาได้จาเลยอาจหลบหนี และพยานหลักฐานอาจสูญหาย
จึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จ่าสิบตารวจ ส.และร้อยตารวจเอก ป. จึงมีอานาจ
เข้ า ไปในบริ เวณบ้ า นที่ เ กิ ด เหตุ อั น เป็ น ที่ ร โหฐานได้ ในเวลากลางคื น โดยไม่ ต้ อ ง
มีหมายค้น และมีอานาจจับจาเลยโดยไม่ต้องมีหมายจับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 ,
81 ประกอบมาตรา 92 (2) และ 96 (2) (ฎ.4461/2540)
- ในขณะเข้ า ตรวจค้ น และจั บ กุ ม ผู้ ต้ อ งหาลั ก ลอบเล่ น การพนั น
เจ้ า พนั ก งานต ารวจไม่ มี ห มายค้ น และหมายจั บ แต่ เ ห็ น ได้ ว่ า การเล่ น การพนั น
เป็ น ความผิ ด ซึ่ ง หน้ า หากไม่ เ ข้ า ตรวจค้ น และจั บ กุ ม ทั น ที ต ามที่ พ ลเมื อ งดี แ จ้ ง
ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้ จึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตรวจค้นในเวลากลางคืนได้
โดยไม่ ต้ อ งมี ห มายค้ น ตาม ป.วิ . อ.มาตรา 92 (2) ประกอบมาตรา 96 (2)
(ฏ.4950/2540)
ตามฎีกาทั้งสามเรื่อง สรุปเป็นหลักกฎหมายได้ว่า
1. เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นในที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น เพราะ
พบความผิดซึ่งหน้า ซึ่งกาลังกระทาลงในที่รโหฐาน ตาม มาตรา 92 (2)
2. เจ้าพนักงานตรวจค้นที่รโหฐานในเวลากลางคืนได้ เพราะเป็นกรณี
ฉุกเฉินอย่างยิ่ง มิฉะนั้นผู้กระทาความผิดอาจหลบหนีและพยานหลักฐานอาจสูญ
หาย ตามมาตรา 96 (2)
3. เจ้าพนักงานจับผู้กระทาความผิดในที่รโหฐานตาม มาตรา 81 (1) ได้
เพราะเข้าหลักเกณฑ์ที่สามารถเข้าค้นในที่รโหฐานเวลากลางคืนได้ และสามารถ
จับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ เพราะเป็นความผิดซึ่งหน้าตาม มาตรา 78 (1) , 80
ตัวอย่างการค้น ที่ไม่ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตาม (2)
- จาเลยมีและดื่มสุราเถื่อนเพียงเล็กน้อย พลตารวจจับของกลางได้แล้ว
จาเลยวิ่งหลบหนีขึ้นไปบนเรือน พลตารวจรู้ว่าเป็นเรือนของจาเลยไม่ปรากฏว่า
จาเลยจะซุกซ่อนหรือหลบหนีไปไหน ดังนี้ ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งที่จะเข้าจับกุม
ในบ้านเรือนจาเลยเวลากลางคืนได้ การจะเข้าค้นหรือจับในที่รโหฐานเวลากลางคืน
ได้ โ ดยไม่ ต้ อ งมี ห มายจั บ นั้ น ก็ แ ต่ ใ นกรณี ที่ มี เ หตุ ฉุ ก เฉิ น อย่ า งยิ่ ง เท่ า นั้ น
(ฎ.675/2483)
- จาเลยกระทาผิดซึ่งหน้าในความผิดลหุโทษในเวลากลางคืนแล้วหลบหนี
เข้าบ้านของจาเลย ซึ่งเจ้าพนักงานตารวจผู้ไล่จับรู้จักอย่างดีแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่า
จาเลยจะหลบหนีต่อไปอีก ไม่ถือเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96
(2) เจ้าพนักงานตารวจผู้ไล่จับจึงไม่มีอานาจเข้าไปจับกุมจาเลยในที่รโหฐานได้ การ
ที่จาเลยเงื้อมีดจะฟันตารวจที่เข้ามาจับเป็นการป้องกันสิทธิของจาเลยให้พ้นจาก
ภยันตรายพอสมควรแก่เหตุ (ฎ.187/2507) และดู ฎ.706/2516 ทานองเดียวกัน
กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 96 (2)
อ. หยุด แสงอุทัย ให้ความหมายว่า
- ถ้าไม่ทาการค้นในเวลากลางคืน จะเกิดภยันตรายแก่ชีวิต หรือร่างกายของ
บุคคลที่ต้องการค้นให้พบตัว หรือบุคคลนั้น อาจจะหลบหนี หรือพยานหลักฐาน
อาจจะถูกทาลาย
- คดีนั้นจะต้องมีลักษณะร้ายแรงไม่ใช่คดีเล็กน้อย
การค้นในที่รโหฐาน จะค้นได้แต่เฉพาะเพื่อหาตัวคนหรือสิ่งของที่
ต้องการเท่านั้น เว้นแต่ เหตุตามมาตรา 98
1. กรณีที่ค้นหาสิง่ ของโดยไม่จากัดสิ่ง เจ้าพนักงานมีอานาจยึดสิ่งของ
ใด ๆ ซึ่งน่าจะเป็นพยานหลักฐานได้
2. เจ้าพนักงานมีอานาจจับบุคคลหรือสิ่งของอื่นในที่คน้ ได้เมื่อมีหมาย
อีกต่างหาก หรือกรณีความผิดซึ่งหน้า
ข้อสอบเนติบัณฑิตสมัย 65
ข้อ 6.ร้อยตารวจโทธรรมสืบทราบว่านายแดงซึ่งศาลได้ออกหมายจับในคดี
ชิงทรัพย์หลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านเลขที่ 22 ของนายดาน้องชายนายแดง จึงยื่นคาร้อง
ต่อศาลขอออกหมายค้นบ้านหลังดังกล่าว ศาลออกหมายค้นให้ตามคาร้องขอ เมื่อ
ร้อยตารวจโทธรรมและสิบตารวจตรีพรกับพวกไปถึงบ้านนายดา พบว่านายแดง
หลบหนีเข้าไปในบ้านเลขที่ 23 ซึ่งตามทะเบียนบ้านมีนายแดงเป็นเจ้าบ้าน ร้อย
ตารวจโทธรรมได้แสดงตัวแต่นายแดงได้ปิดประตูไม่ยอมให้เข้าบ้าน ร้อยตารวจโท
ธรรมและสิบตารวจตรีพรกับพวกตามเข้าไปจับนายแดง นายแดงไม่ยอมเปิดประตู
อ้างว่าจะมอบตัวในวันหลัง ร้อยตารวจโทธรรมและสิบตารวจตรีพรกับพวก
กระแทกประตูจนเปิดออกแล้วเข้าไปจับกุมนายแดงไว้ได้ ส่วนสิบตารวจตรีพรเห็น
นายเหลืองบุตรนายแดงกาลังเสพเมทแอมเฟตามีนอยู่ในบ้านดังกล่าว จึงเข้าจับกุม
นาส่งพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบให้วินิจฉัยว่า การตรวจค้นและจับกุมนายแดง
และนายเหลืองชอบหรือไม่
ธงคาตอบ
การจับในที่รโหฐานนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81
บัญญัติว่า ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทา
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอันนี้ว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ส่วนการค้นใน
ที่รโหฐานนั้นตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (5) หากผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และ
การจับนั้นมีหมายจับเจ้าพนักงานตารวจย่อมมีอานาจค้นและจับได้ การจับนายแดง
ย่อมกระทาได้ เนื่องจากนายแดงผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และมีหมายจับนาย
แดงตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ในการจับปรากฏว่านายแดงหลบหนีเข้าไปใน
บ้านแล้วปิดประตูไม่ยอมให้ร้อยตารวจโทธรรมกับพวกเข้าไปจับ ร้อยตารวจโท
ธรรมกับพวกย่อมมีอานาจใช้กาลังเพื่อเข้าไปในบ้านนั้น การที่ร้อยตารวจโทธรรม
และสิบตารวจตรีพรกับพวกกระแทกประตูบ้านจนเปิดออกแล้วเข้าไปจับนายแดงไว้
ได้ นับว่าเป็นกรณีจาเป็นที่ร้อยตารวจโทธรรมเจ้าพนักงานตารวจผู้ตรวจค้นมี
อานาจกระทาได้ตามมาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการใช้กาลังอันเหมาะสมตาม
พฤติการณ์แห่งเรื่อง (คาพิพากษาฎีกาที่ 1035/2536, 6403/2545) การตรวจค้น
บ้านและจับกุม นายแดงจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อขณะตรวจค้นสิบตารวจตรีพรเห็นนายเหลืองกาลังเสพเมทแอมเฟตามีนในบ้าน
ของนายแดงซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้า สิบตารวจตรีพรย่อมมีอานาจจับกุมนายเหลือง
ได้ตามมาตรา 98 (2) การตรวจค้นและจับกุมนายเหลืองจึงชอบแล้วเช่นกัน
การค้ น ในที่ ร โหฐานต้ อ งค้ น ต่ อ หน้ า ผู้ ค รอบครองสถานที่ ห รื อ บุ ค คล
ในครอบครัว มาตรา 102 วรรคหนึ่ง
- การค้นในที่รโหฐาน ต้องค้นต่ อหน้าผู้ครอบครองสถานที่ หรือ บุคคล
ในครอบครัว จึงจะเป็นการค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย บุคคลในครอบครัวซึ่งเป็นบุตร
เจ้ า ของบ้ า น แม้ จ ะยั ง ไม่ บ รรลุ นิ ติ ภ าวะ แต่ ถ้ า บุ ค คลนั้ น เข้ า ใจสาระส าคั ญ
ของการกระทาและมีความรู้สึกผิดชอบเพียงพอ ก็เป็นการค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย
(ฏ.1455/2544)
- เมื่อมีเหตุให้เชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุ
หากไม่ ท าการตรวจค้ น เสี ย ในวั น เกิ ด เหตุ ของที่ อ ยู่ ใ นบ้ า นอาจถู ก ขนไปเสี ย
การตรวจค้นต่อหน้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองบ้านที่เกิดเหตุ และโดยไม่ทาลาย
กุญแจก็ไม่อาจทาได้ทั้งการตรวจของจาเลยซึ่งเป็นสารวัตรตารวจได้กระทาต่อหน้า
พยานสองคน การตรวจค้นของจาเลยจึงเป็นการกระทาที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา
92 , 94 และ 102 จาเลยจึงไม่มีความผิด ตามปอ. มาตรา 157 , 358 , 362, 364 ,
365(2) (ฎ.4791/2528)
- การค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวซึ่งตาบอดทั้งสองข้างและหูหนวก
และบุคคลอื่นอีก 1 คน เป็นการค้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าพนักงาน
ตารวจค้นบ้านโจทก์ต่อหน้าคนในบ้านคนหนึ่งซึ่งตาบอดทั้งสองข้างและหูหนวก
กับบุคคลอีกคนหนึ่งที่ได้เชิญ มาเป็นพยานในการตรวจค้น เมื่อไม่ได้ความว่า
เจ้าพนักงานตารวจสามารถค้นต่อหน้าคนอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วได้ จึงเป็นกรณี
ที่เจ้าพนักงานตารวจกระทาเท่าที่สามารถจะกระทาได้ และไม่อาจหาบุคคลอื่นใด
มาเป็นพยานในการค้นมากไปกว่านั้น ถือได้ว่าเป็นการค้นที่ชอบด้วย ป.วิ.อ.
มาตรา 102 (ฏ.395/2519)
- กรณีเชิญบุคคลอื่นมาเป็นพยาน ต้องเชิญมาขณะตรวจค้นพบของ
กลาง ถ้าเชิญมาภายหลังตรวจค้นแล้ว เป็นการไม่ชอบ (ฎ.4793/2549)
- การค้นและการจับจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่มีผลกระทบถึง
การสอบสวนและอานาจฟ้องของโจทก์ (ฎ.1493/2550)
คาถาม
พันตารวจโทเคร่ง สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตารวจนครบาลแห่งหนึ่ง สืบ
ทราบว่าบ้านหลังหนึ่งมีสิ่งของที่ได้มาจากการปล้นทรัพย์ซุกซ่อนอยู่จึงออกหมายค้น
ระบุให้จ่าสิบตารวจพิทักษ์ไปตรวจค้น แต่ก่อนที่จ่าสิบตารวจพิทักษ์กับพวกจะเข้า
ตรวจค้นนายหนึ่งได้หลบหนีและไม่มีคนของนายหนึ่งอยู่ในบ้าน จ่าสิบตารวจพิทักษ์
จึงเชิญคนซึ่งอยู่ใกล้บ้านสองคนมาเป็นพยานในการตรวจค้น ระหว่างที่ตรวจค้นนั้น
จ่าสิบตารวจพิทักษ์พบนายสองคนร้ายคดีฆ่าผู้อื่นหลบซ่อนอยู่ในบ้าน จ่าสิบตารวจ
พิทักษ์จึงเข้าจับกุมนายสองส่งพันตารวจโทเคร่ง ถ้านายหนึ่งอ้างว่า การค้นไม่ได้ทา
ต่อหน้านายหนึ่งหรือบุคคลในครอบครัวของนายหนึ่งเป็นการค้นที่ไม่ชอบ ส่วนนาย
สองอ้างว่าจ่าสิบตารวจพิทักษ์จับโดยไม่ชอบ ดังนี้ข้ออ้างของนายหนึ่งและนายสอง
ฟังขึ้นหรือไม่
คาตอบ
เมื่อมีเหตุอันเชื่อได้ว่ามีสิ่งของที่ได้มาจากการปล้นทรัพย์ซุกซ่อนอยู่ในบ้านของ
นายหนึ่ง และการตรวจค้นตามหมายค้นต่อหน้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองก็ไม่อาจ
ทาได้เพราะนายหนึ่งผู้ครอบครองสถานที่หลบหนีไปเสียก่อนและไม่มีบุคคลใน
ครอบครัวของนายหนึ่งอยู่ จ่าสิบตารวจพิทักษ์กับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตารวจ
ผู้ตรวจค้นย่อมขอร้องให้บุคคลอื่นอย่างน้อย 2 คนมาเป็นพยานในการตรวจค้นได้
การตรวจค้นของจ่าสิบตารวจพิทักษ์จึงชอบด้วยมาตรา 92,102 วรรคหนึ่ง แล้ว
ข้ออ้างของนายหนึ่งฟังไม่ขึ้น ส่วนการจับนายสองเป็นการจับในที่รโหฐานในขณะ
ค้นเมื่อจ่าสิบตารวจพิทักษ์ไม่มีหมายจับอีกต่างหากตามมาตรา 98 (2) จ่าสิบตารวจ
พิทักษ์จึงไม่มีอานาจจับนายสองได้ ข้ออ้างของนายสองฟังขึ้น