วิธีเก็บตัวอย่าง Biosafety และ Biosecurity

Download Report

Transcript วิธีเก็บตัวอย่าง Biosafety และ Biosecurity

วิธีเก็บตัวอย่าง การบรรจุตัวอย่างและการจัดส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการ
อย่างปลอดภัยตามหลัก Biosafety และ Biosecurity
วิไล ลินจงสุบงกช
ศูนย์อ้างอิงโรคปากและเท้าเปือ
่ ย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสต
ั ว์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
1. หลักการและเหตุผล
โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคระบาดที่รุนแรง ติดต่อง่ายและระบาดรวดเร็วในสัตว์กีบคู่ ได้แก่ โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ช้าง อูฐ กวาง เป็นต้น และทาให้เกิด
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจในด้านอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสแอฟโทไวรัส (Aphthovirus) มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ โอ (O), เอ (A) , ซี (C),
เอเซียวัน (Asia1), แซทวัน (SAT1) , แซททู (SAT2) และแซททรี (SAT3) ในประเทศไทยพบมีระบาดอยู่ 3 ชนิด คือ โอ เอ และเอเซียวัน ไวรัสแต่ละชนิดไม่ทาให้
เกิดความคุ้มโรคข้ามซึ่งกันและกัน (cross immunity)
การตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อย โดยสังเกตจากอาการนั้นไม่เพียงพอ เพราะไม่สามารถบ่งบอกหรือ
แยกชนิดไวรัสได้ จาเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถจาแนกชนิดของไวรัสได้อย่างถูกต้องและแม่นยา ปัจจุบัน การตรวจหาไวรัสและจาแนก
ชนิดด้วยวิธี ELISA Typing และการตรวจหาแอนติบอดีต่อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย ด้วยวิธี LP ELISA และ non structure protein (NSP) ซึ่งเป็นวิธีทดสอบ
ที่ให้ผลถูกต้อง รวดเร็ว มีความจาเพาะและความไวสูง
ดังนั้นการเก็บตัวอย่างที่ดีและมีคุณภาพรวมถึงขั้นตอนการจัดส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการอย่างถูกต้อง
และปลอดภัยตามหลัก Biosafety และ Biosecurity จึงเป็นสิ่งสาคัญ และควรถือปฏิบัติ เนื่องจากมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในตรวจวินิจฉัยโรคทาง
ห้องปฏิบัติการและการควบคุมและกาจัดโรคในพื้นที่ให้บรรลุผลสาเร็จ
2. วัตถุประสงค์
เพื่อรักษาคุณภาพตัวอย่างเชื้อ เนื้อเยื่อ ซีรัมและหีบห่อบรรจุตัวอย่างให้อยู่
ในสภาพสมบูรณ์ขณะขนส่งตั้งแต่ต้น ทางจนถึงปลายทางได้อ ย่ างปลอดภัยและ
ถูกต้องตามหลักการของ biosafety และ biosecurity เป็นการป้องกันไม่ให้เกิด
โอกาสเสี่ยงต่อการรั่วไหลของเชื้อไปสู่บริเวณใกล้เคียงหรือสิ่งแวดล้อม
3. ขอบข่าย
เป็นวิธีการจัดเตรียมตัวอย่างที่เป็นชนิด infectious substance และ non infectious substance ให้ถูกต้องตามหลักการของ biosafety และ biosecurity ทั้งนี้
ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ การบรรจุหีบห่อหรือภาชนะที่ปลอดภัยและจนถึงขั้นตอนการขนส่งจากต้นทางถึงปลายทาง
4. วิธีและขั้นตอนการปฏิบต
ั ิงาน
การเก็บตัวอย่างเพื่อทาการตรวจวินจ
ิ ฉัยโรคปากและเท้าเปือ
่ ยที่ให้ความจาเพาะ ความไวและความแม่นยาสูงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ คื อการเก็บตรวจตัวอย่าง
ที่เก็บจากเนื้อเยื่อจากรอยโรค (lesion) และการเก็บตัวอย่างซีรัม จากสัตว์ป่วยหรือที่สงสัยว่าป่วย มีดังนี้
4.1 วิธีเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ หรือ vesicle
4.1.1
บริเวณที่สามารถเก็บเชื้อได้คือ ตุ่มหรือแผลที่ลิ้น แผลที่กีบไรกีบ
ซอกกีบหรืออุ้งกีบ โดยทาความสะอาดบริเวณนั้นด้วยน้าสะอาดก่อน
4.1.2. ขนาดของเนื้อเยื่อควรเก็บเชื้อไม่น้อยกว่า 1 กรัม ถ้าเห็นว่าเก็บ
เนื้อเยื่อจากสัตว์ตัวหนึ่งๆได้น้อย ก็ควรเก็บจากตัวอื่นเพิ่มด้วย และแยกขวดเป็น
ตัวๆไป
4 .1.3. เก็บเนื้อเยื่อบรรจุลงในขวดที่มีน้ายา 50 % กลีเซอรีนบัพเฟอร์ ใส่
ให้น้ายาให้ท่วมเนื้อเยื่อ ปิดจุกให้แน่น ปิดทับด้วยเทปกันน้ายาวไหล ทาเครื่อง
หมายขวดให้ชัดเจน
4.1.4 เช็ดทาความสะอาดและฆ่าเชื้อไวรัสทีป
่ นเปือ
้ นมากับขวด ด้วยน้ายา
ฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ เช่น 0.25%speedyne หรือ 0.5% glutaraldehyde
4.1.5 ขวดบรรจุเนื้อเยื่อให้ห่อทับด้วยกระดาษหลายๆชั้น บรรจุในขวดที่มี
ฝาเกลียวปิดสนิท เพื่อป้องกัน การรั่วไหลหรือ กัน ขวดแตก แล้วบรรจุกล่องหรือ
ภาชนะที่ไม่แตกง่าย พร้อมกับบันทึกประวัติสัตว์ป่วย รีบนาส่งทันที หรือในกรณี
จาเป็นต้องเก็บไว้ก่อนควรเก็บในตู้เย็น วิธีนาส่งที่ดีที่สุดคือนาส่งในสภาพแช่เย็น
โดยมีปริมาณ ICE PACK เพียงพอจนกว่าจะถึงห้องปฏิบัติการ หรือจัดส่งทาง
ไปษณีย์โดยใส่ขวดตัวอย่า งซ้อ นลงบนขวดโลหะ หรือขวดพลาสติกและห่อหุ้ม
ด้วยกระดาษซับเพื่อกันการรั่วไหลและกันกระแทก บรรจุลงในกล่องโฟมหรือ
กล่องพัสดุที่แข็งแรง เพื่อป้องกันกล่องเกิดชารุดหรือเสียหายในขณะขนส่ง
4.1.6 ให้ เ ช็ ด ด้ ว ยน้ ายาฆ่ า เชื้ อ บริ เ วณรอบนอกกล่ อ งบรรจุ อี ก ครั้ ง เพื่ อ
ป้ อ งกัน การปนเปื้ อ นเชื้ อ และให้ มั่ น ใจว่ า การบรรจุตั ว อย่ า งและขนส่ ง หี บ ห่ อ มี
ความปลอดภัยตามหลัก Biosafety และ Biosecurity
4.2 วิธีเก็บตัวอย่างซีรัม
กรณี ก ารเก็ บ ตั ว อย่ า งซี รั ม หรื อ น้ าเหลื อ ง ไม่ ส ามารถใช้ ส าหรั บ ตรวจ
วินิจฉัยโรคเพื่อจาแนกชนิดไวรัส (ELISA typing)ได้
จะใช้เพื่อจุดประสงค์
สาหรับตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันและตรวจแยกระหว่างสัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีน
และสัตว์ที่ได้รับการติดเชื้อเท่านั้น วิธีปฏิบัติดังนี้
4.2.1 ให้ใช้ ไซริ้ง และหลอดเก็บเลือดที่แห้งและสะอาดผ่านการฆ่าเชื้อ
4.2.2 เจาะเลือดเสร็จแล้วให้วางหลอดในแนวเอียง เพื่อให้การแยกซีรัม
ได้ดีขึ้น
4.2.3 ควรวางในอุณหภูมิห้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อให้การ
แยกซีรัมจากเกล็ดเลือดได้มากขึ้น ไม่ควรนาหลอดเลือดที่เพิ่งเจาะมาใหม่เข้า
ตู้เย็นทันที เพราะทาให้ซีรัมไม่แยกชั้นหรือแยกได้น้อยมาก ห้ามปั่นหลอด
เลือดที่ยังไม่ได้ทาการถ่ายซีรัมออก
เพราะจะทาให้เม็ดเลือดแดงแตก เกิด
hemolysis อาจส่งผลกระทบต่อการตรวจวินิจฉัยได้
4.2.4 แยกซีรัมแล้ว ถ่ายใส่หลอดพลาสติกที่มีฝาเกลียว ปิดฝาให้สนิทกันการ
รั่วไหล กรณีไม่สามารถนาส่งห้องปฏิบัติการได้ทันที ให้เก็บในตู้แช่แข็ง -20
oC
ทั้งนี้เป็นการเก็บรักษาคุณภาพซีรัมให้คงที่สม่าเสมอและป้องการการ
ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในซีรัม หากมีการเก็บไว้นานเกิน 1 สัปดาห์
4.2.5 ใส่ ห ลอดซี รั ม ในถุ ง พลาสติ ก รั ด ปากถุ ง ให้ แ นน่ กั น การรั่ ว ไหล
บรรจุลงในกระป็องหรือภาชนะที่มีฝาปิด ปิดฝาให้สนิท
4.2.6 เช็ดทาความสะอาดและฆ่าเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนมากับหลอดด้วยน้ายา
ฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ เช่น 0.25%speedyne หรือ 0.5% glutaraldehyde
4.2.7 นาภาชนะบรรจุตัวอย่างทั้งหมด ใส่ลงในกล่องโฟม์ที่แข็งแรงหรือ
Standard container ที่มี ICE PACK เพียงพอเพื่อรักษาความเย็นได้ตลอดการ
ขนส่ง ประวัติตัวอย่างและเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมที่อยู่ผู้ส่ง ให้ใส่ลงข้างกล่อง
เพื่อความสะดวกในการตองผลกลับ
4.2.8 ให้เช็ดด้วยน้ายาฆ่าเชื้อบริเวณรอบกล่องหรือภาชนะอีกครั้ง
เพื่อป้องกันปนเปื้อนเชื้อขณะขนส่งและปลอดภัยตามหลัก biosecutrty