(Antimicrobial agents) (Antimicrobial drugs) (Antibiotics) (semi

Download Report

Transcript (Antimicrobial agents) (Antimicrobial drugs) (Antibiotics) (semi

ยาต้านจุลชีพที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลีย้ งสัตว์น้ําในประเทศไทย
ยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial agents)
ยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) หมายถึง สารประกอบเคมีที่ได้จากธรรมชาติหรือจากการ
สังเคราะห์ มีฤทธิ์ทําลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพ ได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย ริกเกตเซีย เชื้อรา ปรสิต
และโปรโตซัว ยาต้านจุลชีพที่ผลิตโดยจุลชีพ ได้แก่ เชื้อรา และแบคทีเรีย มีฤทธิ์ฆ่า หรือยับยั้งการเจริญเติบโต
ของจุลชีพชนิดอื่น มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) รวมทั้งสารที่เกิดจากการกึ่งสังเคราะห์
(semi-synthetic) ที่มีลักษณะคล้ายสารจากธรรมชาติ เช่น ยากลุ่มเพนิซิลลิน ยากลุ่มเตตราซัยคลิน ยากลุ่ม
แม็กโครไลด์ (อีริโทรไมซิน) ยากลุ่มควิโนโลน (นอร์ฟล็อกซาซิน) กลุม่ ยาฆ่าเชื้อรา (คีโตโคนาโซล) เป็นต้น
ยาปฏิชีวนะ จึงเป็นยาต้านจุลชีพชนิดหนึ่งมีประโยชน์ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ริกเกตเซีย
และเชื้อราเป็นส่วนใหญ่ การใช้ยาต้านจุลชีพนี้ต้องถือหลักดังนี้
1. ใช้ให้ถูกกับชนิดของเชื้อ
2. ใช้ในขนาดที่ถูกต้อง
3. ใช้ในระยะเวลาที่นานพอที่จะไม่ให้เชื้อนั้นมีโอกาสเจริญเป็นอันตรายได้อีก คือ เฉลี่ยระหว่าง 414 วัน (โดยทั่วไปให้นาน 7-10 วัน) แล้วแต่ชนิดของโรค
ซึ่งถ้าขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว นอกจากจะทําให้โรคไม่หาย ยังก่อให้เกิดการดื้อยาของเชื้อ
ตามมาในภายหลัง เช่น การดื้อต่อเพนิซิลลิน ซัลฟา เตตราซัยคลิน หรือ คลอแรมเฟนิคอล เป็นต้น เนื่องจาก
มีการใช้ยากันอย่างพร่ําเพรือ่ โดยไม่คํานึงถึงหลักการดังกล่าว
กลไกการออกฤทธิ์ของยา (Mechanisms of action)
กลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพจะตั้งอยู่บนพื้นฐาน คือ ให้ยามีผลเฉพาะต่อเชื้อก่อโรคและไม่มี
ผลหรือมีผลเล็กน้อยต่อเซลล์ของมนุษย์ (selective toxicities) สามารถแบ่งตําแหน่งการออกฤทธิ์ของยาต้าน
จุลชีพออกได้ 4 แบบได้แก่
1. ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ (Inhibition of cell wall synthesis) กลุ่มยาและยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์
ผ่านกลไกนี้ได้แก่ penicillins, cephalosporins, carbapenems, monobactams, vancomycin,
bacitracin, cycloserine, isoniazid และ ethambutol
2. ยับยั้งการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ (Inhibition of cell membrane synthesis) กลุ่มยาและยาต้านจุลชีพ
ที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกนี้ได้แก่ polymyxins, nystatin, amphotericin B, imidazoles, triazoles และ
allylamines
3. ยับยั้งการสร้างโปรตีนในเซลล์ (Inhibition of cellular protein synthesis) กลุ่มยาและยาต้านจุล
ชีพที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกนี้ได้แก่ aminoglycosides, spectinomycin, tetracyclines, chloramphenicol,
1|Page
clindamycin และ macrolides
4. ยับยั้งการสร้างสารพันธุกรรม (Inhibition of nucleic acid synthesis) กลุ่มยาและยาต้านจุลชีพที่
ออกฤทธิ์ผ่านกลไกนี้ได้แก่ griseofulvin, 5-fluorocytosine, rifampin, pyrazinamide, paraaminosalicylic acid, quinolones, sulfonamides, trimethoprime, pyrimethamine และ sulfones
การขึ้นทะเบียนยาต้านจุลชีพที่เป็นยารักษาโรคในสัตว์น้ํานั้น อยู่ภายใต้การควบคุมของสํานักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยมีการขึ้นทะเบียนยารักษาโรคสัตว์น้ําถูกต้องอยู่ 12
ตํารับยา ได้แก่ เอนโรฟล็อกซาซิน (Enrofloxacin), ซาราฟล็อกซาซิน (Sarafloxacin), ออกโซลินิก แอซิด
(Oxolinic acid), ออกซีเตตร้าซัยคลิน (Oxytetracyclin), ซัลฟาไดเมททอกซีน-ออร์เมทโธพริม
(Sulfadimethoxin-Ormethoprim),
ซัลฟาไดเมททอกซี-ไตรเมทโธพริม
(SulfadimethoxinTrimethoprim),
ซัลฟาไดเมททอกซีน
(Sulfadimethoxin),
ซัลฟาโมโนเมททอกซีน
(Sulfamonomethoxin), ซัลฟาไดอาซีน (Salfadiazine) ไตรเมทโธพริม (Trimethoprim), ออร์เมทโธพริม
(Ormethoprim) และโทลทราซูริล (Toltrazuril) ซึ่งแต่ละตํารับยาจะมีข้อบ่งใช้กับสัตว์น้ําที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 303 พ.ศ. 2550 ได้ระบุยาต้านจุลชีพ และ
ยาฆ่าแมลงที่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา 3 ตํารับยา คือ 1) ยาในกลุ่มเตตร้าซัยคลิน เช่น
Chlortetracycline, Oxytetracycline และ Tetracycline 2) ฟลูมิควิน (Flumequin) และ 3) เดลต้า
เมททริน (Deltamethrin)
ยาที่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําของประเทศไทย
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งหมด 12 ตัวยา ซึ่งในแต่ละตัวยา จะมีข้อบ่งใช้ในสัตว์น้ํา แตกต่างกันตามชนิดของตัวยา
มี
1. Amoxicillin
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์ เป็นยาปฏิชวี นะที่จัดอยู่ในกลุ่มตํารับยาเดี่ยว 244 ตํารับ ตามประกาศของ
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้กว้างขวางทั้งชนิดแกรมบวก (Grampositive) และ แกรมลบ (Gram-negative) ลักษณะเป็นผงสีขาวหรือสีขาวนวล ใช้รักษาโรคติดเชื้อของ
ระบบอวัยวะ เช่น ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง และหู และเป็นยาในกลุ่มเดียวกับ
Ampicillin แต่แตกต่างจาก Ampicillin ตรงที่มีหมู่ hydroxyl ที่ phenyl ring (มักผลิตออกมาในรูป
trihydrate) จึงดูดซึมได้ดีกว่าเมื่อให้ยาโดยการกิน มีสูตรโมเลกุล C16H19N3O5S และน้ําหนักโมเลกุล
365.4 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) กําหนดระยะเวลาหยุดยาที่ 20 วัน
ค่ามาตรฐานที่กําหนด ห้ามตรวจพบ
2. Enrofloxacin
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์ เป็นยาปฏิชีวนะที่จัดอยู่ในกลุ่มตํารับยาเดี่ยว 244 ตํารับ ตามประกาศของ
2|Page
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีการดูดซับดี หลังจากผสมให้สัตว์กิน จากสูตรโครงสร้างมีการพัฒนา
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ให้กว้างขึ้นทั้งต่อเชื้อแกรมบวกและแกรมลบ
เป็นผลึกสีเหลืองอ่อน
นอกจากจะมีการเติม Piperazine ring แล้วยังมีการเพิ่มหมู่เอทธิล (ethyl) เข้าที่ Piperazine ring ทาให้
Enrofloxacin มีคุณสมบัติเป็น lipophilic มากขึ้น คือ สามารถละลายได้ดีในไขมันของร่างกาย ยาจะ
สามารถเคลื่อนตัวผ่านชั้น lipoprotein ของ Cell Membranes ได้ง่ายและรวดเร็วจากนั้นตัวยาจะถูกดูดซึม
เข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ มีสูตรโมเลกุล C19H22FN3O3 และน้ําหนัก
โมเลกุล 359.4 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) กําหนดระยะเวลาหยุดยาที่ 21 วัน
ค่ามาตรฐานที่กําหนด ห้ามตรวจพบ
เป็นยาที่อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะในปลาและสัตว์น้ําสวยงาม ห้ามใช้กับกุ้ง
3. Sarafloxacin
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์ เป็นยาปฏิชีวนะที่จัดอยู่ในกลุ่มตํารับยาเดี่ยว 244 ตํารับ ตามประกาศ
ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา อีกทั้งเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Fluoroquinolone ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้ง
การทํางานของ DNA gyrase ซึ่งช่วยในการรักษาและควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียในสัตว์ปีกที่เกิดจาก
เชื้อ Escherichia coli และ Salmonella spp มีสูตรโมเลกุล C20H18ClF2N3O3 และน้ําหนักโมเลกุล
421.825 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) สําหรับปลาและกุ้ง กําหนดระยะเวลาหยุดยาที่ 5 วัน
ค่ามาตรฐานที่กําหนด ห้ามตรวจพบ
4. ออกโซลินิค แอซิด
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์ เป็นยาปฏิชวี นะที่จัดอยู่ในกลุ่มตํารับยาเดี่ยว 244 ตํารับ ตามประกาศของ
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา อีกทั้งเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Quinolone ใช้ต้านแบคทีเรียแกรมลบ
และใช้ได้กับพวก Staphylococcus aerues ยาชนิดนี้จะแพร่กระจายในเนื้อเยื่อปลาได้ดีกว่ายาออกซี่เตตรา
ซัยคลิน แต่มผี ลข้างเคียงอย่างมากต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทําให้คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง และปวดท้อง
โดยสารนี้จะถูกดูดซึมได้น้อยแต่รวดเร็วในระบบทางเดินอาหาร และถูกขับออกทางปัสสาวะ ทางน้ํานมและ
ทางอุจจาระบ้าง มีสูตรโมเลกุล C13H11NO5 และน้ําหนักโมเลกุล 261.23 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) ไม่ระบุ
ค่ามาตรฐานที่ก้าหนด ห้ามตรวจพบ
5. ออกซี่เตตราไซคลิน
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์ เป็นยาปฏิชีวนะที่จัดอยู่ในกลุ่มตํารับยาเดี่ยว 244 ตํารับ ตามประกาศ
ของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีสูตรโมเลกุล C22H24N2O9 และน้าหนักโมเลกุล 460.434
3|Page
g/mol มีสูตรโครงสร้างหลักเป็นวงแหวนมีลักษณะเป็นผลึกสีเหลืองรสขม ละลายน้ําได้จํากัดที่ pH 7 แต่จะมี
ฤทธิ์สูงสุดที่ pH ระหว่าง 5.5-6 ทีอ่ ุณหภูมิและ pH ไม่เหมาะสมยากลุ่มเตตราซัยคลินจะเกิดการสลายตัว โดย
เกิดทั้ง degradation และ rearrangement ของสูตรโครงสร้างทําให้ไม่มีฤทธิ์ในการรักษาโรค นอกจากนี้ ที่
pH ต่ํา (2.0-6.0) กลุ่มยานี้จะเกิด epimerization เกิดการสลายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ถ้า pH สูงจะเกิด
isomerization เปลี่ยนเป็นไอโซเตตราซัยคลิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาคลอเตตราซัยคลินจะเกิดการสลายตัวได้
เร็วที่สุด จะเปลี่ยนเป็นไอโซคลอเตตราซัยคลินทันทีที่ pH 7.5 คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งของกลุ่มยาเตตราซัยคลิน
ก็คือ สามารถที่จะรวมตัวกับอิออนของพวกไดวาเลนท์และไตรวาเลนท์ เป็นสารประกอบที่ไม่ละลายน้ํา
ยานี้ออกฤทธิ์อย่างกว้างขวางครอบคลุมเชื้อแบคทีเรีย
ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ
เชื้อ
anaerobicbacteria, rickettsiae, chlamydiae, Mycoplasma, spiro-chetes และ protozoa บางชนิด
การออกฤทธิ์โดยตัวยาไปจับกับสารแมกนีเซียมบนส่วนพลาสม่าเมมเบรนของแบคทีเรีย แล้วเข้าไปอยู่ในไซ
โตพลาสซึมของเซลล์และมีการรวมตัวกับส่วน 30s ของไรโบโซมในเซลล์ ซึ่งมีผลต่อการสังเคราะห์โปรตีนของ
เซลล์นั้นๆ ยากลุ่มเตตราซัยคลินเป็น chelating agents ที่ดี ดังนั้นยากลุ่มนี้สามารถรวมตัวกับอิออนชนิด
ต่างๆ เช่น Ca หรือ Mg ในอาหารหรือรวมตัวกับอิออนในน้า ทาให้เสื่อมฤทธิ์ไปได้ง่าย ยาในกลุ่มเตตรา
ซัยคลินที่นิยมใช้ในสัตว์น้าเท่าที่มีรายงาน มี 3 ตัว คือ คลอเตตราซัยคลิน ออกซีเตตราซัยคลิน และเตตรา
ซัยคลิน นิยมให้ยาทางปากไม่ว่าจะผสมอาหารหรือป้อนยาให้กินโดยตรง ยาจะมีการดูดซึมหลังจากที่ยาผ่าน
เข้าไปในกระเพาะอาหารและลาไส้
หลังจากดูดซึมแล้วบางส่วนของยาจะเกิดเมตาบอลิซึม
ค่า
bioavailability (ค่าแสดงบริเวณยาที่มีสิ่งมีชีวิตสามารถนาไปใช้ได้จริง) ของยาในกลุ่มเตตราซัยคลินมีค่า
ค่อนข้างต่าทั้งในปลาและกุ้งกุลาดาเมื่อเปรียบเทียบกับค่าที่มีรายงานในคน ดังนั้นการใช้ยากลุ่มเตตราซัยคลิน
ต้องใช้บ่อยทาให้เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลามาก
อออกซีเตตราซัยคลินที่ผสมในอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ดสําเร็จรูป หรืออาหารสด พบว่า
ประมาณ 20-30% ของยาที่ผสมในอาหารเท่านั้นที่สัตว์น้ําจะได้รับเข้าไป ส่วนทีเ่ หลือของยาบางส่วนก็อาจ
ละลายน้ําและรวมตัวกับสารต่างๆ รวมทั้งตะกอนดินในน้ําบริเวณที่มีการเลี้ยงปลา ซึ่งอาจมีผลต่อเชื้อ
แบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติในบริเวณดังกล่าว ซึ่งอาจทาให้เชื้อเหล่านี้ดื้อยาและได้มีการศึกษาผลของแสงที่
มีต่อการสลายตัวของยา จากการศึกษาพบว่าทั้งอุณหภูมิและแสงสว่างมีผลต่อการสลายตัวของยาออกซีเตตรา
ซัยคลินในน้ําทะเล
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) สาหรับปลาและกุ้ง กําหนดระยะเวลาหยุดยาที่ 21 วัน
ค่ามาตรฐานที่ก้าหนด 0.2 ppm ในปลาและกุ้งกุลาดํา
6. Sulfadimethoxine sodium และ Ormethoprim
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์ Sulfonamides เป็นยาต้านจุลชีพกลุ่มแรกที่นํามาใช้ สารเคมีตัวแรกที่มี
ฤทธิ์คล้ายซัลฟา มีชื่อว่า พรอนโตซิล ยาในกลุ่มนี้มีโครงสร้างหลักเป็น p-aminobenzene sulfonamide
(Sulfanilamide) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับ p-aminobenzoic acid (PABA) ที่แบคทีเรียใช้สังเคราะห์
Folic acid ซัลฟานิลามีดเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงและมีคุณสมบัติการกระจายตัวในเนื้อเยื่อต่างๆได้ไม่ดี
4|Page
จากการทดลองค้นคว้าหากมีการแทนที่ตาแหน่งของไฮโดรเจนในสูตรโครงสร้างด้วยอนุมูลที่เหมาะสม จะทํา
ให้ได้สารตัวใหม่ที่มีคุณสมบัติในการละลายในไขมันและการกระจายตัวได้ดีขึ้น ลักษณะของยาซัลฟาเป็นผงสี
ขาวรสขม เมื่อถูกแสงแดดจะกลายเป็นสีดํา ไม่มีกลิ่น ทนทานต่อความร้อนได้ดี ยาซัลฟาที่ละลายน้าได้ดีต้อง
เตรียมอยู่ในรูปของเกลือ
ซัลฟาไดเม็ททอกซีน (Sulfadimethoxine) และออร์เม็ทโธพริม (Ormetoprim) มีชื่อยาทาง
การค้าว่า โรเมต-30 จัดอยู่ในกลุ่มตํารับยาผสม 28 ตารับ ตามประกาศของสํานักงานคณะกรรมการอาหาร
และยา เป็นผลึกสีขาว ละลายน้ําได้น้อยมาก ออกฤทธิ์ต่อจุลชีพโดยยับยั้งการเจริญและการแบ่งตัว ซึ่งมี
รายงานว่าใช้ยาโรเมต-30
ผสมในอาหารให้กงุ้ กุลาดําจะสามารถลดอัตราการตายเนื่องจากเชื้อวิบริโอได้
Sulfadimethoxine มีสูตรโมเลกุล C12H14N4O4S และน้ําหนักโมเลกุล 310.33 g/mol และ
Ormetoprimมีสูตรโมเลกุล C14H18N4O2 และน้ําหนักโมเลกุล 274.323 g/mol
ยาซัลฟาออกฤทธิ์กว้างต่อแบคทีเรียทั้งชนิดแกรมบวกและแกรมลบ โดยการยับยั้งการเจริญเติบโต
และการเพิ่มจํานวนของแบคทีเรีย (Bacterio static) โดยจะไปขัดขวางการสร้างสารเมทาบอไลท์ที่สาคัญของ
แบคทีเรีย โดยฤทธิ์ยาซัลฟาจะยังไม่เกิดในทันทีหลังรับยา กาเพิ่มจํานวนของแบคทีเรียยังคงเกิดขึ้นขณะหนึ่ง
ก่อนที่ยาจะออกฤทธิ์ ยาซัลฟาจะออกฤทธิ์โดยจะไปแทนที่กรดพาราอะมิโนเบนโซอิค ในการรวมตัวกับ
เอนไซม์ไดไฮโดรโฟลิค ซินทีเทศ (dihydrofolic syntetase) ที่จําเป็นต่อการสร้างกรดโฟลิคของแบคทีเรีย
ผลก็คือจะทําให้การเจริญเติบโตของแบคทีเรียถูกยับยั้งและหยุดการเจริญเติบโต
กรณีที่สัตว์น้ํามีอาการป่วยอย่างเรื้อรังจะสังเกตได้ว่า
การใช้ยาซัลฟารักษาจะไม่ค่อยได้ผลดี
เท่าที่ควร เนื่องจากยาซัลฟาออกฤทธิ์เพียงไปยังยั้งการเจริญและเพิ่มจํานวนของแบคทีเรียเท่านั้น ร่างกาย
สัตว์น้ําจําเป็นต้องมีกระบวนการเก็บกินเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพจึงจะทําให้ยาซัลฟาได้ผลสูงสุดในการ
รักษา ดังนั้น ยาซัลฟาจึงให้ผลรักษาไม่ดีในสัตว์น้ําทีม่ ีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง (chronic infection) จึง
เหมาะสมที่ใช้ในการป้องกันและรักษาโรคในสัตว์น้ําในระยะเริ่มต้นที่ยังไม่มีอาการเรื้อรัง
การใช้ยาซัลฟาในปัจจุบันมักแนะนําให้ใช้เป็น 2 กรณี คือ 1) ใช้ในการรักษาโรคติดเชือ้ ในระบบ
ทางเดินอาหาร เช่น โรคลําไส้ โรคขี้ขาว โรคขี้ขาดตอน และ 2) ใช้ในการป้องกันโรคติดเชื้อแบคทีเรียในกุ้ง
อายุ 20, 40 และ 60 วัน
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) สําหรับปลาและกุ้ง กําหนดระยะเวลาหยุดยาที่ 42 วัน
ค่ามาตรฐานที่ก้าหนด ห้ามตรวจพบ
7. Sulfadimethoxine sodium และ Trimethoprim
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์
Sulfadimethoxine sodium และ Trimethoprim จัดอยู่ในกลุ่ม
ตํารับยาผสม 28 ตํารับ ตามประกาศของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ใช้ร่วมกันป้องกันโรคติดเชื้อ
และช่วยขัดขวางการทํางานของเอนไซม์ Dihydrofolate reductase ที่เปลี่ยน Dihydrofolate เป็น
Tetrahydrofolate ของกระบวนการสร้างพิวรีน (Purines) นอกจากนี้ยังมีความสามารถยับยั้งการ
5|Page
เจริญเติบโตของแบคทีเรียแกรมบวกและ แกรมลบ Sulfadimethoxine มีสูตรโมเลกุล C12H14N4O4S
และน้ําหนักโมเลกุล 310.33 g/mol และTrimethoprim มีสูตรโมเลกุล C14H18N4O3 และน้ําหนักโมเลกุล
290.318 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) สําหรับปลาและกุ้ง กําหนดระยะเวลาหยุดยาที่ 21 วัน
ค่ามาตรฐานที่กําหนด ห้ามตรวจพบ
8. Sulfamonomethoxine และ Trimethoprim
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์
Sulfamonomethoxine และ Trimethoprim จัดอยู่ในกลุ่มตํารับยาผสม 28 ตํารับ ตามประกาศของ
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา รักษาการติดเชื้อจุลชีพในระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ระบบ
ทางเดินอาหารและระบบทางเดินปัสสาวะ Sulfamonomethoxine มีสูตรโมเลกุล C11H12N4O3S และ
น้ําหนักโมเลกุล 280.30 g/mol และTrimethoprim มีสูตรโมเลกุล C14H18N4O3 และน้ําหนักโมเลกุล
290.318 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) ไม่ระบุ
ค่ามาตรฐานทีก่ ําหนด ห้ามตรวจพบ
9. Sulfadiazine และ Trimethoprim
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์ Sulfadiazine และ Trimethoprim จัดอยู่ในกลุ่มตํารับยาผสม 28 ตํารับ
ตามประกาศของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ใช้ร่วมกันป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และ
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ รวมทั้งใช้รักษาโรคท้องเสีย ซึ่งออกฤทธิ์ต่อเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) และ
ผนังเซลล์ (cell wall) ของเชื้อโรค Sulfadiazine มีสูตรโมเลกุล C10H10N4O2S และน้ําหนักโมเลกุล
250.278 g/mol และTrimethoprim มีสูตรโมเลกุล C14H18N4O3 และน้ําหนักโมเลกุล 290.318 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) ไม่มีระบุในสัตว์น้า แต่ระบุเฉพาะใน Pigs 14 วัน, Chicken 7 วัน,
Turkeys 7 วัน
ค่ามาตรฐานที่กําหนด ห้ามตรวจพบ
10. Sulfadimidine และ Trimethoprim
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์ Sulfadimidine และ Trimethoprim จัดอยู่ในกลุ่มตํารับยาผสม 28
ตํารับ ตามประกาศของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียโดยยับยั้งการสร้าง
กรดโฟลิก (folic acid) และใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ไวต่อยานี้ เช่น โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง ทางเดินหายใจ
และทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น Sulfadimidine มีสูตรโมเลกุล C12H14N4O2S และน้ําหนักโมเลกุล 278.331
g/mol และTrimethoprim มีสูตรโมเลกุล C14H18N4O3 และน้ําหนักโมเลกุล 290.318 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) ไม่มีระบุในสัตว์น้า แต่ระบุเฉพาะใน Pigs 15 วัน, Cattle 10 วัน
6|Page
ค่ามาตรฐานที่กําหนด ห้ามตรวจพบ
11. Sulfamonomethoxine Sodium
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์ Sulfamonomethoxine Sodium จัดอยู่ในกลุ่มตํารับยาเดี่ยว 244
ตํารับ ตามประกาศของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา รักษาการติดเชื้อจุลชีพในระบบทางเดินหายใจ
ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินปัสสาวะ Sulfamonomethoxine Sodium มีสูตร
โมเลกุล C11H12N4O3Sและน้ําหนักโมเลกุล 280.303 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) ไม่ระบุ
ค่ามาตรฐานที่ก้าหนด ห้ามตรวจพบ
12. Toltrazuril
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์
โทรทาซูริล (Totrazuril) เป็นกลุ่มยาที่ใช้ในการฆ่าโปรโตซัวในระบบ
ทางเดินอาหาร ได้ผลดีกับโปรโตซัวในกลุ่ม Coccidia ยาชนิดนี้ เป็นที่นิยมใช้ในสัตว์บกอย่างแพร่หลายใน
หลายประเทศ สาหรับประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนยาชนิดนี้เพื่อใช้ในสัตว์บกและสัตว์น้า Totrazuril มีสูตร
โมเลกุล C18H14F3N3O4S และน้ําหนักโมเลกุล 425.38 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) สําหรับปลาและกุ้ง กาหนดระยะเวลาหยุดยาที่ 21 วัน
ค่ามาตรฐานที่ก้าหนด ห้ามตรวจพบ
ยาที่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําของประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 303
พ.ศ .2550 มีทั้งหมด 3 ตํารับยา ดังนี้
1. Chlortetracycline/ Oxytetracycline/ Tetracycline
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์
ยากลุ่มนี้เป็นอนุพันธ์ของ Hydronaphthacene ring ออกฤทธิ์หยุดการเจริญเติบโตของเชื้อ โดย
ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนโดยจับกับ 30S Ribosome ออกฤทธิ์กว้างทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ
นอกจากนี้ ยากลุ่มนี้มีผลต่อไตของสัตว์ Chlortetracycline มีสูตรโมเลกุล C22H23ClN2O8 และน้ําหนัก
โมเลกุล 478.879 g/mol, Oxytetracycline มีสูตรโมเลกุล C22H24N2O9 และน้ําหนักโมเลกุล 460.434
g/mol และ Tetracycline มีสูตรโมเลกุล C22H24N2O8 และน้ําหนักโมเลกุล 444.435 g/mol
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ 1) กลุม่ ยาที่ผลิตโดยจุลชีพ เช่น ออกซีเตตราซัยคลิน คลอเตตรา
ซัยคลิน และ 2) กลุ่มยาทีไ่ ด้จากการกึ่งสังเคราะห์ เช่น เตตราซัยคลิน ยาที่ใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มยานี้
ได้แก่ ออกซีเตตราซัยคลิน คลอเตตราซัยคลิน เมื่อยาเข้าสู่ร่างกายสัตว์น้ําแล้วจะเข้าไปขัดขวางการ
เจริญเติบโตหรือการเพิ่มจํานวนของแบคทีเรีย การใช้กลุ่มยาเตตราซัยคลิน ไม่แนะนําให้ใช้ร่วมกับยาต้านจุล
ชีพหลายตัว เช่น กลุ่มยาซัลฟา และสารประเภทเกลือแคลเซียม โซเดียมคาร์บอเนต เป็นต้น
7|Page
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) สําหรับปลาและกุ้ง กําหนดระยะเวลาหยุดยาที่ 21 วัน
ค่ามาตรฐานที่กําหนด ปลา 0.20 ppm กุ้งกุลาดา 0.20 ppm (ผลรวมของ 3 สาร หรืออย่างหนึ่งอย่างใด)
2. Deltamethrin
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์
เป็นยาฆ่าแมลง ประกอบด้วย isomer เพียงชนิดเดียวจาก stereoisomer จานวน 8 ชนิด เป็น
ของแข็ง สามารถละลายได้ในเอธานอล (ethanol) อะซีโตน (acetone) และ ไดออกเซน (dioxane) อีกทั้ง
เป็นสารไพรีทรอยต์ ที่มีความบริสุทธิ์ของสารออกฤทธิ์สูง ออกฤทธิ์เฉียบพลันทั้งถูกตัวตายและกินตาย มีกลิ่น
เหม็นฉุนรุนแรง เป็นอันตรายต่อปลา กุ้ง ปูและสัตว์น้ําอื่นๆ Deltamethrin มีสูตรโมเลกุล C22H19Br2NO3
และน้ําหนักโมเลกุล 505.21 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) ไม่ระบุ
ค่ามาตรฐานที่กําหนด Salmon 30 ppb
3. Flumequine
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์
เป็นยารุ่นแรกของยาปฎิชีวนะในกลุ่มควิโนโลนที่สังเคราะห์ขึ้นมา ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย
แกรมลบในทางเดินปัสสาวะและทางเดินอาหาร มีลักษณะเป็นผงหรือผลึกสีขาว ดูดซึมได้อย่างรวดเร็วและ
สมบูรณ์ในร่างกายสัตว์ เป็นสารก่อมะเร็ง และเกิดการบวมของเซลล์ตับ/พิษต่อระบบสืบพันธุ์และตัวอ่อน
Flumequine มีสูตรโมเลกุล C14H12FNO3 และน้าหนักโมเลกุล 261.248 g/mol
ระยะหยุดยา (Withdrawal Time) ไม่ระบุ
ค่ามาตรฐานที่ก้าหนด Trout 500 ppb
ยาที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําของประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่
299) พ.ศ. 2549 ได้ระบุว่าให้อาหารทุกชนิดมีมาตรฐาน โดยตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารเคมีดังต่อไปนี้ ซึ่งมี
ทั้งหมด 3 ตัวยา
1. คลอแรมฟินิคอล
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์
เป็นยาปฎิชีวนะที่ได้จากการผลิตของ Streptomyces venezuelae ค้นพบในปี 1947 จาก
ตัวอย่างของดินที่ได้จากประเทศเวเนซูเอล่า ออกฤทธิ์อย่างกว้างขวางต่อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ
สารนี้มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่ไม่ซับซ้อนมากนัก และสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้ด้วยกระบวนการสังเคราะห์
ทางเคมี เป็นสารที่ไม่มีสี และไม่ค่อยละลายในน้ํา มีสูตรโมเลกุลC11H12Cl2N2O5 และน้ําหนักโมเลกุล
323.132 g/mol คลอแรมฟินิคอลจะแพร่กระจายเข้าสู่เซลล์ของแบคทีเรียและจะข้าไปจัยกับไรโบโซม50S
8|Page
ของแบคทีเรียทําให้ไปขัดขวางการจับกันระหว่างไรโบโซม50S และ tRNA ปฎิกิริยาระหว่างเอ็นไซม์
peptidyl transferase กับกรดอะมิโนจาก tRNA จึงไม่เกิดขึ้น เป็นผลทําให้ไม่มีการสังเคราะห์โปรตีน คลอ
แรมฟินิคอล จึงจัดอยู่ในกลุ่มของยาที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย คลอแรมฟินิคอลสามารถยับยั้งการ
สังเคราะห์โปรตีนในไมโตคอนเดรียของเซลล์สัตว์ชั้นสูง เนื่องจากว่าไรโบโซมในไมโตคอนเดรียของสัตว์ชั้นสูงมี
ลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกับไรโบโซมของแบคทีเรีย เซลล์ที่สร้างเม็ดเลือดแดงในสัตว์ชั้นสูง จะมีความไว
ต่อยาคลอแรมฟินิคอลมากเป็นพิเศษ
อวัยวะเป้าหมายที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ยาคลอแรมฟินิคอล คือ ไขกระดูก มีผลต่อระบบการผลิต
เม็ดเลือด 2 ประการคือทําให้จํานวนเซลล์หรือองค์ประกอบในเลือดลดลง (pancytopenia) และการ
ตอบสนองของร่างกาย (idiosynerasy) อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบสําคัญ
ในเลือด กลไกความเป็นพิษของคลอแรมฟินิคอลต่อไขกระดูกยังไม่เป็นที่ชัดเจน ในรายของผู้ป่วยที่รอดชีวิต
จากผลกระทบของคลอแรมฟินิคอลต่อการเปลี่ยนแปลงในไขกระดูกนี้ จะมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งเม็ด
เลือดขาว (leukemia) จากผลการศึกษาพบว่า การลดลงของจํานวนเซลล์ที่ผลิตเม็ดเลือดในไขกระดูกขึ้นอยู่
กับปริมาณของยาคลอแรมฟินิคอลที่ใช้ ในขณะที่การตอบสนองของร่างกายที่เป็นผลมาจากการลดลงของ
จํานวนเซลล์ทเี่ ป็นส่วนประกอบสาคัญในเลือดนั้นไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณยาคลอแรมฟินิคอลที่ใช้
แต่อาจจะ
ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีการใช้ยาคลอแรมฟินิคอลติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากนี้ คลอแรมฟินิคอลยังมีผล
ต่อเม็ดเลือดแดง ทําให้เม็ดเลือดแดงมีการพัฒนาที่ไม่สมบูรณ์ ทําให้มเี ม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดต่ํากว่าปกติ
ผลกระทบของคลอแรฟินิคอลต่อเม็ดเลือดแดงจะแปรผันตามปริมาณของคลอแรมฟินิคอลที่ใช้
ค่าMRPL (Minimum Required Performance Limit)
เนื่องจากคลอแรมฟินิคอล เป็นสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา ดังนั้นจึงได้มีประกาศ
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อน
สารเคมีบางชนิดในอาหาร พ.ศ. 2549 โดยกําหนดว่าจะต้องใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์และห้องปฏิบัติการที่มี
ความสามารถในการตรวจพบปริมาณสารปนเปื้อนได้อย่างน้อยต่ําถึงระดับ 0.30 ppb และต้องพบปริมาณ
สารปนเปื้อนน้อยกว่าปริมาณที่กาหนดดังกล่าว
2. สารในกระบวนการสร้างและสลายของกลุ่มไนโตรฟิวแรนส์ (Nitrofurans metabolites)
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์
สารกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ คือ ยาปฏิชีวนะที่สังเคราะห์ขึ้นนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการรักษาโรค
ติดเชื้อภายในลําไส้ และโรคติดเชือ้ ในระบบทางเดินปัสสาวะของสัตว์จําพวกแพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็ด
ไก่และกุ้ง สูตรโครงสร้างของสารกลุม่ นี้ประกอบไปด้วยวงแหวนฟูแรนเกาะด้วยไนโตรกรุ๊ป เรียกว่า 5Nitrofuraldehyde มีลักษณะเป็นผงสีเหลือง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ละลายน้ําได้เล็กน้อย สารกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ที่
นิยมใช้กันมากได้แก่ ฟูราโซลิโดน (Furazolidone) ฟูรัลทาโดน (Furaltadone) ไนโตรฟูราโซน
9|Page
(Nitrofurazone) และไนโตรฟูรานโทอิน (Nitrofurantoin) แต่จากผลการศึกษาพบว่า สารกลุ่มนี้มีแนวโน้ม
เป็นสารก่อมะเร็งและทาให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ถ้าได้รับการบริโภคในระยะเวลานาน สารกลุ่มนี้จึงถูก
ห้ามใช้กับสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น อเมริกา ออสเตรีย แคนนาดา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ บัง
คลาเทศ กลุ่มสหภาพยุโรป และประเทศไทย
สารกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ในรูปยาตั้งต้น (parent drugs) จะถูกย่อยสลายอย่างรวดเร็วในสัตว์
กลายเป็น metabolites ซึ่งจะจับตัวตามเนื้อเยื่อต่างๆเรียกว่า tissue-bound metabolites หรือ proteinbound metabolites ซึ่งจะมีความคงตัวกว่า parent drugs และจะตกค้างในเนื้อเยื่อของสัตว์ได้นานหลาย
สัปดาห์ ดังนั้นการตรวจวิเคราะห์สารกลุ่มไนโตรฟูแรนส์จึงอาศัยพื้นฐานการตรวจวัด metabolites ของ
parent drugs ซึ่ง metabolites ของ ฟูราโซลิโดน ฟูรัลทาโดน ไนโตรฟูราโซนและไนโตรฟูรานโทอิน คือ 3amino-2-oxazolididone (AOZ), 3-amino-5-morpholinomethyl-2-oxazolidinone (AMOZ), 1aminohydantoin (AHD) และ Semicarbazide (SEM) ตามลําดับ
เป็นยาปฏิชีวนะที่สังเคราะห์ขึ้น มีลักษณะเป็นผงสีเหลือง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ละลายน้ําได้เล็กน้อย
เป็นสารที่มีอายุสั้นเมื่อแพร่กระจายสู่ร่างกายสัตว์ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยจะเปลี่ยนรูปไปเป็น Tissue- Bound
Residue ซึ่งสะสมในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายสัตว์ ใช้รักษาโรคติดเชื้อภายในลําไส้และโรคติดเชือ้ ในระบบ
ทางเดินปัสสาวะของสัตว์จําพวก แพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็ด ไก่และ กุ้ง
สูตรโมเลกุลของ Nitrofurantoinคือ C8H6N4O5, Nitrofurazone C6H6N4O4, Furazolidone
C8H7N3O5 และ Furaltadone C13H16N4O6 โดยมีน้ําหนักโมเลกุลของ Nitrofurantoin 238.16 g/mol,
Nitrofurazone 198.14 g/mol, Furazolidone 225.16 g/mol และ Furaltadone 324.3 g/mol
ค่าMRPL (Minimum Required Performance Limit)
เนื่องจากไนโตรฟิวแรนส์ เป็นสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา ดังนั้นจึงได้มีประกาศ
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อน
สารเคมีบางชนิดในอาหาร พ.ศ.2549 โดยกําหนดว่า จะต้องใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์และห้องปฏิบัติการที่มี
ความสามารถในการตรวจพบปริมาณสารปนเปื้อนได้อย่างน้อยต่ําถึงระดับ 0.30 และ 1.0 ppb ตามลําดับ
กล่าวคือ AOZ และ AMOZ ที่ระดับ 0.30 ppb และ AHD และ SEM ที่ระดับ 1.0 ppb ซึ่งจะต้องพบ
ปริมาณสารปนเปื้อนน้อยกว่าปริมาณที่กําหนดดังกล่าว
3. มาลาไคต์ กรีน (Malachite Green) และเกลือของสาร และสารในกระบวนการสร้างและสลาย
(Malachite green and Leuco-malachite green)
คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์
สารนี้มีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ ยังยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งชนิดแกรม
บวกและแกรมลบ แต่มีผลต่อแบคทีเรียแกรมบวกมากกว่าแกรมลบ ซึ่งออกฤทธิ์โดยไปรวมกับองค์ประกอบ
10 | P a g e
ภายในเซลล์ได้เป็นคอมเพล็กซ์ที่ไม่แตกตัว ขัดขวางขบวนการทางชีววิทยาที่สําคัญๆ มีความพยายามจํากัด
การใช้มาลาไคท์กรีนในสัตว์น้ําในหลายประเทศ เนื่องจากพบว่า มาลาไคท์กรีนเป็นเคมีภัณฑ์ที่มีพิษสูง มี
คุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็งและมีผลต่อโครโมโซมของเซลล์ บางประเทศมีการใช้มาลาไคท์กรีนเพื่อรักษาโรค
ติดเชื้อในสัตว์น้ําที่เกิดจากโปรโตซัว โดยแนะนําให้ใช้ในขนาด 0.1-0.5 mg. ต่อน้ํา 1 ลิตร และมีการนํามาใช้
ร่วมกับ Formalin ในการรักษาโรคจุดขาว
สารนี้อยู่ในกลุ่มสีย้อมมีชื่อทางเคมีคือ 4-R (dimethylamine)-pheny- benzylidene)-2, 5cyclohexa-dinelylidine dimethylammonium chloride มีสูตรโมเลกุล Malachite green
C23H25N2Cl และ Leuco-Malachite green C23H26N2 ทั้งนี้น้ําหนักโมเลกุลของ Malachite green
365 g/mol และ Leuco-Malachite green 330.47 g/mol
การใช้ประโยชน์เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อรา และปรสิตเซลล์เดียว โดยทั่วไปจะใช้ใน
โรงเพาะฟักในประเทศที่มีอุณหภูมิค่อนข้างเย็น หรือที่ที่อุณหภูมิไม่สูงมาก สําหรับประเทศไทยห้ามใช้มาลา
ไคท์กรีนในสัตว์น้ําที่ผลิตเพื่อการบริโภคแต่ยังคงอนุญาตให้ใช้ได้กับสัตว์น้ําสวยงาม อย่างไรก็ตาม มีคําแนะนํา
ให้เกษตรกรเปลี่ยนมาใช้สารป้องกันเชื้อรากลุม่ อื่นแทน เช่น ไตรฟูราลิน ในการกําจัดเชื้อราในโรงเพาะฟัก
ความเป็นพิษของมาลาไคท์กรีนนอกจากเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogenic) ในสัตว์ทดลองแล้ว ยังพบว่าเป็น
สารที่ก่อให้เกิดกลายพันธุ์ (Mutagenic) โดยทําให้ไข่ของปลาที่แช่ด้วยสารชนิดนีม้ ีการพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนที่
ไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ มาลาไคท์กรีนมีความเป็นพิษต่อสัตว์น้ําสูงมาก ที่ระดับความเข้มข้น 1-2 ppm ทําให้
ปลาน้ําจืดและกุ้งทะเลตายได้ในเวลา 1 ชั่วโมง
ค่า MRPL (Minimum Required Performance Limit)
เนื่องจาก Malachite green และ Leuco-malachite green เป็นสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา ดังนั้น จึงได้มีประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสารเคมีบางชนิดในอาหาร พ.ศ. 2549 โดยกําหนดว่าจะต้องใช้วิธีการ
ตรวจวิเคราะห์ และห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถในการตรวจพบปริมาณสารปนเปื้อนได้อย่างน้อยทีร่ ะดับ
2.0 ppb
รวบรวมโดย จิราพร เกษรจันทร์
16 เมษายน 2557
11 | P a g e